รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
การพูดในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น นอกจากจะสื่อความรู้ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ แล้ว ยังต้องสื่ออารมณ์ ความรู้สึกถ่ายทอดไปสู่กันและกันด้วย
ฉะนั้นเวลาที่คนในทีมมาขอคำปรึกษา และรายงานปัญหาบางอย่างให้คุณรู้ ให้บอกกับพวกเขาไปก่อนเลยว่า “ขอบคุณ” เพราะการที่พวกเขารีบมาปรึกษา จะช่วยให้คุณคาดเดาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
โดยปกติแล้ว เรื่องที่คนในทีมรีบมารายงานคุณมักเป็นเรื่องที่พวกเขาไม่สบายใจ โดยอาจเกิดจากความผิดพลาด หรือความหละหลวมของเจ้าตัวเอง แต่ไม่ว่าอย่างไร ณ จุดนั้น คุณต้องไม่ตำหนิลูกทีมของคุณเด็ดขาด เพราะพวกเขาคงพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ จึงหันมาใช้วิธีการรายงานการติดต่อ หรือการปรึกษา หากพวกเขาคิดว่าตัวเองจะถูกหัวหน้าตำหนิก็อาจเก็บเรื่องนั้นเอาไว้จนจวนตัวกว่าจะยอมมารายงานก็คงสายเกินแก้ ซึ่งถ้าคนในทีมรู้ว่า “หัวหน้าจะไม่ตำหนิถ้าไปขอคำปรึกษา” พวกเขาก็จะกล้ามาปรึกษาคุณมากขึ้น
คุณอาจคิดว่าทำไมต้อง “ขอบคุณ” ลูกทีมที่เอาปัญหามาปรึกษาด้วยล่ะ คำตอบคือเพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกขอบคุณ ที่เขามารายงานให้คุณรับรู้ และเพื่อควบคุมตัวเอง ไม่ให้ระเบิดอารมณ์ออกไปตรงนั้น
คำแนะนำอีกอย่างก็คือ ห้ามบอกคนที่มาขอคำปรึกษาว่า “คิดหาทางออกดีๆ มาด้วยสิ” เพราะหากเขาต้องใช้เวลาคิด วิธีรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้น ปัญหานั้นก็อาจลุกลามไปถึงจุดที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
แต่เราสามารถถามหาวิธีแก้ปัญหาขณะกำลังรับฟังเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ก่อนอื่นให้คุณรับฟังปัญหาด้วย “ความรู้สึกขอบคุณ” และหลังจากที่รวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็ถามคนที่มาปรึกษาคุณว่า “ในเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแล้วคุณพอจะมีวิธีแก้ปัญหาบ้างไหม”
ข้อมูลจาก: หนังสือแค่ทำให้คนเก่งขึ้น 1% คุณก็จะทำงานน้อยลง 99% โดย โคโนะ เอตาโร่