รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
แม้ว่าการออกเสียงระหว่างประเทศไทย กับ ไต้หวันจะมีความคล้ายคลึงกัน จึงมักทำให้ชาวต่างชาติเกิดความสับสน ดังนั้น ดีไซเนอร์จาก EXP จึงวาด 10 รูปภาพ ซึ่งเป็นตัวแทนถึงความแตกต่างระหว่าง 2 ประเทศได้เป็นอย่างดี
1.ตัวแทนสัตว์
หมีดำ Formosan คือสัตว์สัญลักษณ์ของไต้หวัน ส่วนช้าง คือสัตว์สัญลักษณ์ของไทย
2.สีของชานม
ชานมไต้หวันจะมีสีเบจ ส่วนไทยจะมีสีส้ม-แดง
3.การพบปะ
ไต้หวันจะพูดว่า “hi” พร้อมกับยกมือ ส่วนไทยจะพูดว่า “สวัสดี” พร้อมกับยกมือไหว้
4.การเดินทาง
คนไต้หวันจะขี่สกู๊ตเตอร์ และส่วนไทยจะนั่งรถตุ๊กๆ
5.สถาปัตยกรรม
วัดส่วนใหญ่ในไต้หวันจะมีหลังคาแบน ส่วนวัดในไทยจะสูงตระหง่าน
6.ศาสนา
หนึ่งในศาสนาหลักในไต้หวัน คือลัทธิเต๋า ส่วนคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
7.รูปร่างของประเทศ
ไต้หวันมีรูปร่างคล้ายกับมันฝรั่ง ส่วนไทยมีรูปร่างคล้ายกับช้าง
8.ธงชาติ
ธงชาติของไต้หวันเป็นการรวมกันระหว่างท้องฟ้าสีน้ำเงินกับดวงอาทิตย์สีขาว และโลกสีแดง ส่วนธงชาติไทยประกอบด้วยสีแดง, น้ำเงิน และขาว โดยสีแดง มีความหมายถึงชาติ, สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงินมีความหมายถึงพระมหากษัตริย์
9.คนขายของ
คนขายของที่ไต้หวันจะใช้จักรยาน ส่วนที่ไทยจะขายของบนเรือ
10.การเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่
ชาวไต้หวันจะเฉลิมฉลองด้วยการจุดประทัด ส่วนชาวไทยเล่นสงกรานต์ในวันขึ้นปีใหม่
ที่มา: expup