รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
แพทย์ รพ.จุฬาฯ เตือน “ผงชูรส” มีสารเคมีที่มีชื่อเรียกว่า Monosodium Glutamate บริโภคมากเกินไปส่งผลเสียต่อร่างกาย
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เผยแพร่ข้อมูลจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า ผงชูรสที่ใช้เป็นเครื่องปรุงในอาหาร มีสารเคมีที่มีชื่อเรียกว่า Monosodium Glutamate หรือ MSG ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวบางราย ได้แก่
1.กลุ่มอาการ เอ็มเอสจี (MSG Symptom Complex) ซึ่งจะเกิดขึ้น 1-14 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่มีผงชูรส โดยทีอาการปวดศีรษะ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดต้นคอ คลื่นไส้ เหงื่อแตก รู้สึกเสียวซ่านผิวหนัง หน้าแดง ใจสั่น และแน่นหน้าอด ในเด็กอาจมีอาการหนาวสั่น กระสับกระส่าย เพ้อ และกรีดร้อง เกิดอาการแห้ในระบบต่างๆ ได้บ้าง เช่น การเป็นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หอบหืด น้ำมูกไหล แน่นจมูก
2.อาการหน้าแดง ในบางคนที่ได้รับผงชูรสในปริมาณมาก
3.อาการปวดศีรษะ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดไมเกรน
4.ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคมิเมียร์ ( Meniere’s Disease) ซึ่งมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน การได้ยินลดลง และมีเสียงหวีดในหู การหลีกเลี่ยงผงชูรสอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคได้
ดังนั้น ควรมีการทำความเข้าใจและส่งเสริมให้ลดการใช้ผงชูรสลง เนื่องจากไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการสร้างรสชาติให้อาหาร และหากได้รับมากไปก็อาจเกิดผลเสียบางประการต่อร่างกาย