รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
วันเข้าพรรษา ปีนี้อยู่ต่อจากวันอาสาฬหบูชา (16 กรกฎาคม) ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ในเดือนกรกฏาคมนี้ ที่มีวันสำคัญทางพุทธศาสนาถึง 2 วัน
สำหรับวันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง
วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวางเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงวางเป็นระเบียบข้อบังคับให้พระสงฆ์ต้องเขาจำพรรษาในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบคุณงามความดีตามหน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจวันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้า “พรรษาต้น” ส่วนการเข้า “พรรษาหลัง” เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
กิจวัตรของพระภิกษุในช่วงวันเข้าพรรษา
ในช่วงเข้าพรรษา กิจวัตรของพระภิกษุจะคล้ายกับวันออกพรรษา เพียงแต่พระภิกษุสงฆ์จะต้องไม่ออกไปนอกพื้นที่ พระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษามากกว่า จะทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดด้านวิชาใด ก็สั่งสอนเผยแพร่แก่พระภิกษุสงฆ์ที่พรรษาน้อยกว่า ช่วงวันเข้าพรรษานี้จึงจะทำให้พระภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ศึกษาพระไตรปิฏกมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา
1. ร่วมกิจกรรมหล่อเทียนพรรษา ถวายวัด
2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถ