รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
กล้วยถือว่าเป็นผลไม้ที่ถูกยอมรับในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และหารับประทานได้ง่าย แต่ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้ในอนาคตผู้บริโภคอาจจะกล้วยรับประทานได้ยาก และอาจถึงขั้นเลวร้ายขนาดถึงกล้วยอาจจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้เลยก็เป็นได้
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter University ในประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Climate Change เผยว่าสภาวะโลกร้อนเป็นความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตกล้วยที่ลดลง หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1961 มีมากกว่า 27 ประเทศทั่วโลกที่ส่งออกกล้วยที่สัดส่วน 86% ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในครั้งนี้ระบุว่า หากประเทศที่ทำการเพาะปลูกกล้วยยังทำแบบนี้ต่อไปจำนวนผลผลิตจะลดลง หรือสูญพันธุ์ไปในปี 2050
Dr Dan Bebber ผู้ทำการศึกษามองว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะปลูกกล้วย รวมถึงผู้ส่งออก เช่น ในอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภคกล้วยรายใหญ่ของโลก ตลอดจนบราซิล พบว่าผลผลิตกล้วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
“ผู้ผลิตกล้วยรายใหญ่มักกังวลเกี่ยวกับเรื่องโรคระบาด แต่กลับเพิกเฉยกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณใหผู้ผลิตกล้วยได้มีการเตรียมตัว เริ่มลงทุนในด้านเทคโนโลยี เช่นระบบชลประทาน”
ที่มา: metro
https://metro.co.uk/2019/09/02/climate-change-cause-global-banana-shortage-10672301/?fbclid=IwAR1qkwRlc1i59Y97fFlGLyc-P0BG9KTjpAL_v-c8eI4jmD3RmQkFKbUsqlQ