รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เพราะการนอนหลับอย่างเต็มอิ่มมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากจะทำให้อารมณ์แจ่มใส พร้อมรับมือสำหรับวันทำงานอันหฤโหดแล้ว การนอนยังเสริมสร้างสุขภาพ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติได้อย่างเต็มที่ ลองสังเกตดูว่า ถ้าวันไหนที่เรานอนน้อยติดต่อกันหลายวัน จะบั่นทอนการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน ทั้งทำให้หงุดหงิด ง่วง เพลีย เสียสมาธิระหว่างวัน รวมทั้งยังทำให้เจ็บป่วยง่าย เป็นหวัด มีไข้ ไม่สบายเนื้อสบายตัว เป็นต้น
นอกจากนี้ ท่านอนและที่นอน ก็เป็นสิ่งที่จะเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้อย่างสำคัญมาดูกันว่านอนท่าไหนช่วยให้หลับได้เต็มอิ่มมากขึ้นกันดีกว่า
• การนอนหงาย
ถ้าจะให้ดี ต้นคอต้องอยู่ในแนวเดียวกับร่างกาย ซึ่งหมายความว่าไม่ควรใช้หมอนที่สูงเกินไป ซึ่งจะทำให้คอก้มมาข้างหน้าทำให้ปวดต้นคอได้ แต่การนอนหงายมีข้อควรระวังเพราะจะทำให้หายใจลำบาก เนื่องจากกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด เช่นเดียวกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การนอนหงายจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ลำบาก ผู้ที่เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจจึงไม่ควรนอนท่านี้ หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้หมอน 2-3 ใบรองด้านหลัง หรือปรับเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น เพื่อยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง
• นอนคว่ำ
เป็นท่าที่ทำให้หายใจไม่สะดวก และเป็นท่าที่เมื่อนอนแล้วพลิกตัวเปลี่ยนท่าได้ยาก ทำให้ต้องเอียงคอมาด้านใดด้านหนึ่งมากๆ เป็นเวลานาน พอตื่นนอนมาอาจเกิดอาการปวดคอได้
• นอนตะแคงซ้าย
การนอนตะแคงเป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขา ข้อควรระวังของการนอนตะแคงซ้ายคือจะทำให้หัวใจซึ่งอยู่ด้านซ้ายถูกน้ำหนักกดทับ ทำให้สูบฉีดเลือดได้ลำบาก
• นอนตะแคงขวา
ถือเป็นท่าที่ดีที่สุด เพราะหัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบให้เคลื่อนสู่ลำไส้เล็กได้ดี ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และยังเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย
ที่นอน (และหมอน) ที่ดี อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม
ที่นอนที่ดี ไม่ควรนิ่มหรือแข็งจนเกินไป เพราะที่นอนแบบนิ่มนอนแล้วยวบลงไปเป็นแอ่งกะทะจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่าย เพราะร่างกายไม่อยู่ในแนวตรง และยังทำให้หายใจไม่สะดวกอีกด้วย
นอกจากนี้ ที่นอนที่ดี ควรมีความแน่น ทำจากวัสดุที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม และสามารถคืนรูปได้ดีในเวลาที่ผู้นอนขยับหรือพลิกตัว รวมทั้งการลุกจากที่นอน ที่นอนทำจากยางพารา เมมโมรีโฟม และใยมะพร้าวมีคุณสมบัติค่อนข้างดีสำหรับการนอน แต่ใยมะพร้าวเมื่อใช้เป็นเวลานาน ใยมะพร้าวจะเริ่มเป็นขุย และเมื่อโดนความชื้นอาจทำให้เกิดเชื้อรา กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ
เช่นเดียวกับหมอน วัสดุยางพาราและเมมโมรีโฟมมีคุณสมบัติที่รองรับคอ หลัง และไหล่ได้ค่อนข้างดี รวมทั้งมีข้อดีตรงไม่อมฝุ่นหรือเป็นที่สะสมของไรฝุ่น ซึ่งเป็นข้อด้อยของหมอนที่มีไส้ทำจากขนสัตว์ นุ่น รวมทั้งใยสังเคราะห์