รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
โรคหวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งติดต่อกันผ่านทางลมหายใจและสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย แต่สำหรับโรคหวัดเรื้อรัง มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้จะแสดงอาการที่ต่างๆ กัน
หวัดจากเชื้อไวรัส จะมีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ คอหอยและต่อมทอนซิลจะเป็นสีแดง แค่ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำเยอะๆ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น กินยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ อาการจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆ ลดลงใน 3-4 วัน และหายเองได้ภายใน 7 วัน
หวัดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีไข้สูง เจ็บที่ต่อมน้ำเหลืองด้านข้างลำคอ คอหอยและต่อมทอนซิลแดงจัด และมีฝ้าขาวหรือตุ่มหนอง ควรต้องไปพบแพทย์
ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ ซึ่งการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์และเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะ ต้องทานยาจนหมดแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและไม่กลับเป็นซ้ำ เพราะหากทานยาไม่ครบตามกำหนดอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย นอกจากอาการจะไม่ดีขึ้นแล้ว การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปก็มีผลทำให้เชื้อดื้อยาได้
ไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส เมื่อหายป่วยร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดมีหลายสายพันธุ์แตกต่างกันตามช่วงเวลา จึงมีโอกาสติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ อีกได้
ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหวัด
อ้างอิง: โรงพยาบาลรามคำแหง