รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
หนึ่งในความตั้งใจยอดนิยมของใครหลายคนสำหรับการเริ่มต้นปีใหม่นี้ ต้องมีเรื่องของการออกกำลังกายอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน และหนึ่งในข้อสงสัยสำหรับการออกกำลังกายก็คือ “การฟังเพลง” ช่วยให้ทำการออกกำลังกายได้ดีขึ้นจริงหรือ มาดูคำตอบเรื่องนี้กันเลย
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายทุกรูปแบบนั้นดี แต่การออกกำลังกายแบบ “เร็ว” และ “กระฉับกระเฉง” ดูเหมือนจะดีเป็นพิเศษต่อหัวใจและสมอง หลายคนจึงทำการหาเพลงที่มีจังหวะคึกคักมาฟังตอนออกกำลังกาย แล้วมันช่วยได้จริงหรือ?
จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่า การเดินเร็วนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง และนำไปสู่การปลดปล่อยฮอร์โมนที่ชื่อว่า BDNF ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์สมองใหม่ สิ่งที่มีประโยชน์กับคุณอย่างแน่นอน
มีการทดลองเกี่ยวกับเรื่องของการเดินช้าและการเดินเร็ว โดยมีการแบ่งกลุ่มของคนที่เข้าร่วมทำการทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกใช้เครื่องนับก้าวโดยตั้งเป้าเอาไว้ว่าให้เดินวันละ 10,000 ก้าว ส่วนกลุ่มที่สองให้เน้นการเดินเร็ววันละ 30 นาทีโดยให้ฟังเพลงที่มีจังหวะคึกคักไปพร้อม ๆ กับการเดิน
การทดลองนี้ใช้เวลา 5 สัปดาห์ในการทำ จากนั้นก็นำผู้เข้าร่วมการทดลองมาตรวจสอบในเรื่องของความดันโลหิต, คอเลสเตอรอล และไขมันในร่างกาย ผลของการทดลองออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวดทั้งสองกลุ่ม
แต่กลุ่มที่เดินเร็วด้วยเสียงเพลงนั้นมีพัฒนาการที่ดีกว่ากลุ่มที่เดินตามจำนวนของเครื่องนับก้าว โดยกลุ่มของนักเดิน 10,000 ก้าว พบการลดลงของไขมันในร่างกายโดยเฉลี่ย 1.8% ในขณะที่คนเดินเร็วลดไขมันในร่างกายลงได้ถึง 2.4% อีกทั้งผู้เดินเร็วยังมีความดันโลหิตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
จากข้อมูลนี้พอที่จะสนับสนุนได้ว่า “การเดินเร็ว” สร้างสุขภาพที่ดีกว่าได้ และเสียงเพลงช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นจริง เพราะการเดิน 100 ก้าวต่อนาที ควรจะมีตัวช่วยอย่าง Dancing Queen ของ Abba หรือไม่ก็ Hips Don’t Lie ของ Shakira
อ้างอิง: