รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกกำลังทำการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งหนึ่งในคำแนะนำก็คือให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกันโดยตรง แต่ข้อห้ามเพียงข้อเดียวนี้ได้ส่งผลต่อวัฒนธรรมของคนทั้งโลกแล้ว ที่ไหนเปลี่ยนไปอย่างไรมาดูกันเลย
จีน
ในกรุงปักกิ่งมีการห้ามไม่ให้ผู้คนจับมือกัน ทำให้การทักทายสมัยใหม่อย่างการจับมือแบบสากลเป็นอันต้องหยุดไป ตอนนี้การคารวะแบบดั้งเดิมของจีนกำลังกลับมา หากคุณคิดไม่ออกว่าท่านั้นทำอย่างไรก็ให้นึกถึงตอนที่นั่งดูหนังกำลังภายใน
ฝรั่งเศส
เลิกทักทายด้วยการเอาแก้มชนกัน เพราะประเทศนี้ก็เริ่มมีความตื่นตัวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดกันแล้ว แก้มก็ไม่ได้ชน มือก็ไม่ได้จับ เขาบอกว่าการจะทักทายกันนั้นเพียงแค่มองเข้าไปในดวงตาก็เพียงพอแล้วกับการทักทาย
เยอรมนี
คนเยอรมนีตื่นตัวในเรื่องนี้มาก ดังนั้นในเวทีการประชุมต่าง ๆ ภาพของผู้บริหารที่ไม่ยอมทักทายด้วยการจับมือนั้นจะมีให้เห็น และกำลังจะกลายเป็นภาพชินตาในเร็ววัน
สเปน
การระบาดส่งผลกระทบต่อประเพณีที่สืบทอดกันมานานอย่าง การจูบประติมากรรมของพระแม่มารี จากเดิมที่ผู้คนจำนวนมากจะพากันไปจูบที่มือและเท้าของรูปปั้น ทางการกำลังพิจารณาว่าอาจจะต้องยกเลิกการกระทำดังกล่าว
โปแลนด์
โปแลนด์หนึ่งในประเทศที่มีชาวคาทอลิกมากที่สุดในยุโรป ได้รับอนุญาตให้ใช้การแสดงออกของการมีส่วนร่วมทางจิตวิญญาณแทนการบริโภคขนมปังของชุมชน บางที่สามารถขนมปังไปวางไว้ในมือแทนที่จะเป็นปาก นอกจากนี้ยังมีการขอร้องไม่ให้จุ่มมือลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์เมื่อเข้าและออกจากโบสถ์ โดยหันไปทำเครื่องหมายกางเขนแทน
นิวซีแลนด์
สถาบันการศึกษาในนิวซีแลนด์ได้ยกเลิกการทักทายของชาวเมารี ที่ใช้จมูกชนกันรู้จักกันเป็นการชั่วคราว แต่ไม่ได้บอกว่าให้ใช้วิธีใดแทน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รวมถึงกาตาร์กำลังให้บอกให้ประชาชนหยุดการทักทายแบบ “จมูกต่อจมูก” แบบดั้งเดิม ให้เปลี่ยนมาเป็นการโบกมือแทน
สำหรับบ้านเราก็ยกมือไหว้เป็นการทักทายที่ดีงามอยู่แล้ว ความกลัวเรื่องไวรัสไม่สามารถทำอะไรเราได้
อ้างอิง: