ตัวช่วยลดฝุ่น “ปลูกต้นไม้” ประสิทธิภาพของการดักฝุ่นในระยะยาวและยั่งยืน


แม้ว่าทุกวันนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ถึงจะมีการแก้ปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาให้ลดลงแล้วก็ตาม ซึ่งที่ทุกคนสามารถป้องกันตัวเองในระยะสั้น คือการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นเวลาต้องเดินทางในที่กลางแจ้ง

อย่างไรก็ตาม มีเรื่องหนึ่งที่มีสอนอยู่ในตำราเรียนมาตั้งแต่เด็ก คือ “การปลูกต้นไม้” ที่สามารถดักจับฝุ่นละอองได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผิวใบ และสิ่งที่ปกคลุมบนผิวใบ หากใบมีลักษณะเรียวเล็ก ผิวหยาบ ก็จะมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ดูดซับสารพิษต่างๆ

สำหรับพืชที่สามารถดักจับฝุ่นได้ แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

ไม้เลื้อย

  • สร้อยอินทนิล
  • เล็บมือนาง
  • พวงชมพู
  • อัญชัน
  • พวงคราม
  • กะทกรก

ไม้พุ่ม

  • วาสนา
  • แก้ว
  • หางนกยูงไทย
  • กรรณิการ์
  • ทองอุไร
  • โมกบ้าน
  • คริสตินา

ไม้ล้มลุก

  • ไผ่รวก
  • วงศ์ส้มกุ้ง
  • ฉัตรพระอินทร์

ไม้ต้น

  • สั่งทำ
  • ข่อย
  • โพทะเล
  • พฤกษ์
  • ขี้เหล็กเลือด
  • ปอกระสา
  • ตะลิงปลิง
  • โมกหลวง
  • โมกมัน
  • สกุลชงโค
  • ขี้เหล็กบ้าน
  • ตะขบฝรั่ง
  • ตะแบก
  • อินทนิล
  • เสลา
  • จามจุรี
  • แคแสด
  • ชมพูพันธ์ทิพย์
  • พังแพร

ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่นำงานวิจัยจากต่างประเทศมาให้ข้อมูลประกอบ พบว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองทั่วไป สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้ประมาณ 100 กรัม หากแบ่งแยกตามประเทศจะพบว่าต้นไม้ใหญ่ในกรุงปักกิ่งดักจับฝุ่นละอองได้ประมาณ 300 กรัมต่อปี ต้นไม้ที่โตเต็มที่ในเนเธอร์แลนด์ดักจับฝุ่นได้ถึง 1.4 กิโลกรัม เลยทีเดียว