รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ร้านกาแฟ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่หลายคนชอบแวะไปซื้อเครื่องดื่มมารับประทาน ด้วยเมนูที่หลากหลายจึงทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
รู้หรือไม่ว่า? เมนูเครื่องดื่มที่เราสั่งในร้านกาแฟนั้นต่างมีชื่อเรียกทั่วไปที่รู้จักกันดี แต่ตามหลักราชบัณฑิตฯ นั้นมีการเขียนที่ไม่เหมือนกับชื่อเมนูที่อยู่ในร้านกาแฟที่มักจะเขียนคำทับศัพท์
เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Guide ภาษาไทยคือของหวาน ได้โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับคำทับศัพท์ที่อยู่ในร้านคาเฟ่ที่สะกดไม่ตรงตามหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา โดยได้นำคำศัพท์มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ซึ่งอ้างอิงฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2565 มีดังต่อไปนี้
คาปูชิโน่ = คัปปุชชีโน
ลาเต้ = ลัตเต
มอคค่า = มอคา
มัคคิอาโต = มัคคียาโต
มัทฉะ = มัตจะ
คาเฟ่ = คาเฟ, แคเฟ
มิลค์ = มิลก์
สมูทตี้ = สมูทที
อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวเป็นการเสนอมุมมองในแง่ของความรู้ ไม่ได้มีน้ำเสียงชี้นำว่าจะต้องเขียน ต้องสะกด ต้องใช้ตามนี้ เพราะเชื่อว่าทุกคนมีวิจารณญาณและมีเหตุผลในการเลือกใช้ภาษาแต่ละครั้งอยู่แล้ว
ส่วนคำศัพท์ที่นำเสนอ บางคำมาจากภาษาอังกฤษ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับหลักการทับศัพท์อยู่บ้าง แต่สำหรับบางคำที่เห็นว่าแปลก ๆ นั้น เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ฉะนั้นหลักการทับศัพท์อาจไม่ได้เหมือนกันเสมอไป