แรงงานต่างด้าวในไทย มีอัตราพุ่ง ขยายตัวสูงขึ้น


อัตราแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในไทย เดือนสิงหาคม 2557 พุ่งถึง 1,562.12 พันคน ขยายตัวถึง 27.4% ต่อปี และ 0.8% ต่อเดือน และหากพิจารณาจาก 8 ดือนที่ผ่านมา ขยายตัวถึง 32.4 % ต่อปี

                จากข้อมูลของธนาคารกรุงเทพพบว่า แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในไทย เดือนสิงหาคม 2557 มีจำนวนถึง 1,562.12 พันคน ขยายตัวถึง 27.4% ต่อปี ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 และขยายตัว 0.8% ต่อเดือน หากพิจารณาจาก 8 เดือนที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1,562.12 พันคน ซึ่งขยายตัวถึง 32.4% ต่อปี ทั้งนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดียวกัน คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2556 ที่ 991.97 พันคน อยู่ที่ 52.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีพ.ศ. 2553 อยู่ที่ 6.8% CAGR โดยแรงงานอาเซียน แบ่งออกเป็น 4 ประเทศได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย สำหรับ CLMV ได้แก่ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศเวียดนาม  ทั้งนี้เดือนสิงหาคม 2557 คิดเป็น 1.2% และ 98.8% ของแรงงานอาเซียนทั้งหมด และคิดเป็น 1.1% และ 90.8% ของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั้งหมด ตามลำดับ และหากพิจารณาจาก 8 เดือนที่ผ่านมานั้น คิดเป็น 1.2% และ 98.8% ของแรงงานอาเซียนทั้งหมด และคิดเป็น 1.1% และ 90.4% ของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั้งหมด ตามลำดับ           ทั้งนี้กลุ่มแรงงานที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย 5 อันดับแรก ในเดือนสิงหาคม 2557 ได้แก่ พม่า 74.0% กัมพูชา 13.1%ลาว 3.9% ญี่ปุ่น 2.2% และจีน 0.9%  ของกลุ่มแรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมายทั้งหมด ตามลำดับ ส่วน 5 อันดับกลุ่มแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ได้แก่ ไทยใหญ่ 47.1% พม่า 12.2% กระเหรี่ยง 11.4% มอญ 4.3% และไทยลื้อ 4.0% ของกลุ่มแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายทั้งหมด

                ตลาดแรงงานต่างด้าวในไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทางด้านการคมนาคม กฎหมายรองรับ การลงทุนกิจการใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งของคนไทยเอง และนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงปัจจัยในเรื่องค่าแรงของแรงงานต่างด้าวที่ค่อนข้างถูก จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายท่าน หันมาใช้บริการแรงงานต่างด้าวกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ในอนาคต การเปิดการค้าเสรี AEC ยังจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยหนุนให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลาย ๆ หน่วยงาน เริ่มมีการวางแผนเพื่อรับมือกับแรงงานต่างด้าวที่จะหลั่งไหลเข้ามาไว้แล้ว ถือได้ว่าประเทศไทยค่อนข้างมีความเตรียมพร้อมในการรับมือกับ AEC แต่ถึงอย่างไรก็ดี การมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น อาจส่งผลให้ แรงงานไทยเองเกิดอัตตราการว่างงานมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ ตลาดแรงงานไทยยังคงเป็นที่หน้าต้องจับตามองอยู่ ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด