รถจดทะเบียนในประเทศไทย หดตัวลง


รถจดทะเบียนในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ซึ่งยอดจดทะเบียนรถใหม่ของไทย ในเดือนสิงหาคม 2557 หดตัวลงมาก รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ในเดือนสิงหาคม 2557 หดตัวถึง 23.5% ต่อปีสำหรับรถยนต์นั่ง หดตัวถึง 32.8% ต่อปี และรถจักรยานยนต์มียอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ หดตัว 11.4% ต่อปี

                ทั้งนี้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ยอดจดทะเบียนของไทยในเดือนสิงหาคม 2557 ยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลใหม่ จำนวน 19.6 พันคัน หดตัวถึง 23.5% ต่อปี และ 15.0% ต่อเดือน เป็นยอดจดทะเบียนในกรุงเทพฯ จำนวน 6.0  พันคัน หดตัวถึง 26.5% ต่อปี และยอดจดทะเบียนในภูมิภาค จำนวน 13.6 พันคันหดตัวถึง 22.1% ต่อปี หากพิจารณาจาก 8 เดือนที่ผ่านมาในปี 2557 มีรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน 209.0 พันคัน หดตัวลงอยู่ที่ 18.5% ต่อปี

สำหรับรถยนต์นั่ง มียอดจดทะเบียนของไทยเดือนสิงหาคม2557 จำนวน 47.3 พันคัน หดตัวถึง 32.8% ต่อปีและ 13.2% ต่อเดือน เป็นยอดจดทะเบียนในกรุงเทพฯ จำนวน 23.9 พันคัน หดตัวถึง 30.9% ต่อปี และยอดจดทะเบียนในภูมิภาค จำนวน 23.5 พันคัน หดตัวถึง34.7% ต่อปี เมื่อพิจารณาจาก 8 เดือนก่อนหน้า รถยนต์นั่งมีจำนวน 458.2 พันคัน หดตัวถึง 35.7% ต่อปี

ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดจดทะเบียนของไทย เดือนสิงหาคม 2557 ยอดจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์ใหม่ จำนวน 153.7 พันคัน หดตัว 11.4% ต่อปี และ 10.3% ต่อเดือน แบ่งเป็นยอดจดทะเบียนในกรุงเทพฯ จำนวน 32.9 พันคัน หดตัว 17.1% ต่อปี และยอดจดทะเบียนในภูมิภาค จำนวน 120.9 พันคัน หดตัวอยู่ที่ 9.7% ต่อปี หากพิจารณา 8 เดือนก่อน มีจำนวนรถจักรยานยนต์ 1,259.6 พันคัน ซึ่งหดตัวลงอยู่ที่ 17.2%

                ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาณดีไม่ดีหนักในอุสาหกรรมการผลิตรถยนต์ แต่อย่างไรก็ดี สถาณการณ์ดังการหดตัวดังกล่าวถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบในอุตสาหกรรมรถยนต์ เพื่อให้ดิ้นร้น สามารถเพิ่มช่องทาง และโอกาสให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้เมื่อเปิดประตูสู่อาเซียนแล้ว มีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะสามารถผงาดขึ้นมาได้อีกครั้ง หลังจากอุปสรรคมากมายได้ผ่านพ้นไป ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์มหาอุทกภัย เรื่อยมาจนถึงเหตุกาณ์ทางการเมืองในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงความให้ความสำคัญต่อการเพิ่มช่องทาง และเปิดโอกาสในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถก้าวต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีแผนรองรับสภาวิกฤติไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่องแม้อยู่ในสถาณการณ์ใด ๆ ก็ตาม