การผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋องของไทยหดตัวลง อยู่ในภาวะที่น่าจับตามอง


ดัชนีผลผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง เดือน สิงหาคม 2557 หดตัวถึง 33.9% ต่อปี และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง เดือนสิงหาคม 2557 อยู่ที่ 18.2% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวของปีก่อน ทั้งนี้หากพิจารณาจากแปดเดือนที่ผ่านมาในปี 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ 27.9% ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ผลผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง คิดเป็น 3.4% ของผลผลิตหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี แคนาดา  

ข้อมูลจากธนาคารกรุงเทพ พบว่า ดัชนีผลผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง เดือนสิงหาคม 2557 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 โดยหดตัวลงถึง 33.9% ต่อปี และหดลง 35.9 % ต่อเดือน ซึ่งหากพิจารณา 8 เดือนที่ผ่านมาแล้ว ดัชนีผลผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋องลดลงอยู่ไปอยู่ที่ 6.3% ทั้งนี้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปี 2547-2556 อยู่ถึง 20.1% และต่ำสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547-2556

สำหรับอัตรากำลังการผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง เดือนสิงหาคม 2557 อยุ่ที่ 18.2% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 17.5% และ17.6% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อน ตามลำดับ หากพิจารณา 8 เดือนให้หลัง อยู่ที่ 27.9% ซึ่งลดลงจาก ในช่วงเดียวกันของปีก่อนคือ 30.4% ทั้งนี้ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปี 2547-2556 อยู่ที่ 36.2% และต่ำสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547-2556

อย่างไรก็ตามการที่ดัชนีผลผลิตกลุ่มผักและผลไม้กระป๋องลดลง ถือเป็นเรื่องหน้ากังวล และยังต้องจับตามองกันต่อไป เพราะทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการกลุ่มผักและผลไม้กระป๋องก็เป็นได้ การเพิ่มช่องทางการตลาด อาจเป็นเรื่องดีสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มผักและผลไม้กระป๋อง เพื่อลดความกังวลในการลดลงของกำลังการผลิต ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบเป็นอย่างมาก การเพิ่มช่องทางการตลาดจึงถือได้ว่าเป็นแผนการรองรับกับสถานการณ์ล่วงหน้าเอาไว้ได้เป็นอย่างดี