แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2558 ปีมะแม สหรัฐฯ มีแรงหนุนเศรษฐกิจโลกสูงสุด


แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2558 กสิกรคาด เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ระดับ 4.0% และการส่งออกกลับมาขยายตัวได้ที่ 3.5% โดยสหรัฐฯ มีกำลังหนุนสูงสุด จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคเศรษฐกิจและแรงงาน ส่วนยูโรโซน จีน และญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังคงชะลอตัว 

ธนาคารกสิกรเผย แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2015 ว่ามีโอกาสฟื้นตัวมากขึ้น แต่ยังคงต้องจับตามองว่าจะฟื้นตัวได้มากน้อย เพียงใด โดยคาดว่าว่า มีแนวโน้มการขยายตัวที่ระดับ 4.0% และการส่งออกกลับมาขยายตัวได้ที่ 3.5% และมองว่าดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งคาดว่าจะเห็นการคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.0% ไปต่อเนื่องอีกประมาณ 3 ไตรมาส ก่อนที่จะสามารถปรับขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2015 โดยเศรษฐกิจหลักที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้ คือสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างยูโรโซน จีน และญี่ปุ่นยังคงชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด และคาดว่าจะเป็นตัวหน่วงทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกด้านการขยายตัวอีกด้วย นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันมากขึ้น จึงส่งผลให้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันมากด้วย โดยมีประเด็นหลายประเด็นที่ต้องติดตาม และถือเป็นความเสี่ยงทั้งในภาคเศรษฐกิจจริงและด้านการเงินโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินในปีหน้า รวมถึงการค้าโลกที่ขยายตัวได้ในระดับต่ำ อีกทั้งประเด็นเรื่องการปฏิรูปประเทศ คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเห็น

โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันมากขึ้น ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยังคงฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องทั้งภาคเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา อาจผ่อนคลายนโยบายการเงินน้อยลง ส่วนด้านเศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงมีความเปราะบางและความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดยังมีอยู่ ทำให้ธนาคารกลางยูโรโซนออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านมาตรการต่าง ๆ ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการปล่อยเงินกู้ด้วยดอกเบี่ยต่ำการเข้าซื้อ covered bonds และการซื้อพันธบัตรที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง แต่ยังข้อจำกัดหลายปัจจัยทั้งจากภาคธนาคารและตลาดพันธบัตรของยูโรโซน ส่งผลให้การดำเนินนบายของอีซีบียังมีข้อจำกัดอยู่เป็นแรงกดดันให้อาจมีมาตรการคล้ายโปรแกรม QE ของสหรัฐอเมริกา ออกมาอีก เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากมีการปรับขึ้นภาษีการบริโภคในเดือนเมษายน ทำให้การใช้จ่ายผู้บริโภคหดตัวลงมาก การบริโภคภาคเอกชนคิดสัดส่วนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจถึงเกือบ 60% อย่างไรก็ดี ความอ่อนแอของเศรษกิจญี่ปุ่น ทำให้มีการธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ขณะที่การปรับขึ้นภาษีการบริโภครอบที่ 2 ในเดือนตุลาคมปี 2015 อาจส่งผลกระทบตต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ชะลอตัวลงอีกครั้ง และเศรษฐกิจจีน เห็นสัญญาณการชะลอตัวลงอยู่ ทั้งโดยเฉพาะภาคอสังหริมทรัพย์เป็นตัวฉุดเศรษฐกิจที่สำคัญ อีกทั้งการชะลอตัวของการส่งออกและการนำเข้าสะท้อนว่าภาคการผลิตและอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวด้วย ซึ่งหากเศรษฐกิจจีนจะรักษาเป้าหมายการขยายตัวที่  7.5% ในปีนี้ ทางการจีนอาจจำเป็นต้องออกมาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก

สำหรับด้านค่าเงินผลของการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นผลดีต่อต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ดี โครงการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ อาจไม่ได้ทำให้ไทยได้รับประโยชน์นัก เนื่องจากเราใช้ราคาพลังงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่แล้ว ขณะที่ราคาสินค้าการเกษตรปรับลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบที่ไม่ดีนักต่อรายได้เกษตรกรไทย ด้านการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์นั้น โดยปกติแล้วน่าจะหนุนการส่งออก แต่หากประเมินจากตัวเลขตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา การส่งออกโดยรวมยังเป็นการติดลบอยู่ โดยเฉพาะการส่งออกไปจีน ทั้งนี้ยังมีการพัฒนาการเชิงบวก คือการค้า CLMV ซึ่งเห็นการนำเข้าสินค้าบริโภค และสินค้าทุนจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่า การอ่อนค่าของเงินบาทในครั้งนี้ ไม่ได้ตามมาด้วยการเพิ่มความสามารถด้านการส่งออกมากนัก ความหวังของเศรษฐกิจในปีนี้นั้นอยู่ที่การใช้จ่ายของภาครัฐ และถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีอำนาจเต็ม แต่ก็เห็นความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงอยู่ โดยเฉพาะด้านการลงทุน ส่วนการเพิ่มศักยภาพในระยะยาวให้แก่ประเทศนั้นยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายของประเทศอยู่ ในส่วนของนโยบายการเงินนั้น กนง. แสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นประเทศพัฒนาแล้วมีช่องว่างการผลิตที่ลดลงจาก -4.7% ของจีดีพีในปี 2009 มาอยู่ที่ -2.5% ต่อจีดีพีในปี 2014 หมายความว่าเศรษฐกิจเหล่านี้เข้าใกล้ระดับศักยภาพมากขึ้น สำหรับธนาคารญี่ปุ่นเริ่มเดินเครื่องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ด้วยการเพิ่มปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์ 8 หมื่นล้านเยนต่อปี หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้ว จะเห็นว่านโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นรุนแรงที่สุดแต่เนื่องจากหนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่สูงถึง 24% ของจีดีพี ดังนั้น ธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงต้องรับภาระกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การที่ญี่ปุ่นผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน หมายความว่าประเทศในแถบเอเชียเหนือต้องมีการเพิ่มปริมาณเงินเช่นกัน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และอาจส่งผลลามมาถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ในภาวะที่การส่งออกของโลกขยายตัวเพียง 3% ประเทศต่าง ๆ ต่างต่องแย่งชิงการขยายตัวของการส่งออก