สถานการณ์น้ำตาลไทยน่าเป็นห่วง จากปัญหาน้ำตาลทรายน้ำหนักไม่มคุณภาพ ในสายตาตลาดโลก ถูกเรียก Unwanted sugar กระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายกรมการค้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการควบคุมดูแลเครื่องชั่งให้เป็นไปตามมาตรฐาน
โดยน้ำตาลทรายของไทยขาดคุณภาพด้านน้ำหนัก ซึ่งถูกมองไม่ดีในสายตาของตลาดโลก โดนเรียกว่า Unwanted sugar หรือแปลเป็นไทยแบบตรงตัวคือ น้ำตาลที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์จึงได้มอบหมายให้กรมการค้าภายแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในการ ชั่ง วัด ตวง ควบคุมดูแลเครื่องชั่งให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และอีกประเด็นปัญหาคือราคาน้ำตาลผันผวนมาก จากผลของการซื้อขายของนักเก็งกำไรที่วิตกกับ D&S ของตลาด
จากข้อมูลกรมศุลกากร ปริมาณการส่งออกในตลาดสินค้าประเภทน้ำตาลทรายลดลง โดยปริมาณการส่งออกน้ำตาลทราย ปี 2557 อยู่ที่ 4.66 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีปริมาณ 5.25 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 11 โดยส่งออกไปประเทศ อินโดนีเซีย 26% ญี่ปุ่น 12% มาเลเซีย 9% เกาหลีใต้ 8% และ กัมพูชา 8% ทั้งนี้ เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตของไทยลดลง ผนวคกับสต๊อกน้ำตาลในตลาดโลกมีจำนวนมาก จึงส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐควรพัฒนาศักยภาพในส่วนที่ควรปรับปรุงก่อนที่สินค้าไทยจะมีปริมาณการส่งออกลดลง ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกิดผลเสียแก่เศรษฐกิจของประเทศแน่นอน ทั้งนี้สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ แนะนโยบายและมาตรการของไทย ในด้านการส่งออก ผู้ประกอบการควรขออนุญาตส่งออก และผู้ส่งออกต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลโดยเฉพาะ ซึ่งจะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ส่วนด้านการนำเข้าน้ำตาลทราย ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลง ดังนี้
-
ตามข้อผูกพันของ WTO ปี 2557 ปริมาณการนำเข้าในโควตา 13,760 ตัน ภาษีนำเข้าร้อยละ 65 และภาษีนอกโควตาร้อยละ 94 ซึ่งค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 47 ให้ให้ใช้ตารางผูกพันสินค้าปี 2547 ไปจนกว่าจะมีข้อผูกพันใหม่ อีกทั้งต้องมีปริมาณการนำเข้าตามข้อตกลง WTO ปี 2557 คือ 242.35 ตัน
-
ตามความตกลงไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA) ปี 2557 ปริมาณนำเข้าในโควตาอยู่ที่ 3,244.54 ตัน ภาษีร้อยละ 26 ภาษีนอกโควตาร้อยละ 84.6 ทั้งนี้อัตรานอกโควตา WTO หัก MOP ร้อยละ 10
-
ตามความตกลงไทย และนิวซีแลนด์ (TNZCEP) ปี 2557 ในเรื่องการไม่จำกัดปริมาณ ภาษีร้อยละ 0
-
ตามความตกลงไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) ปี 2557 ด้านปริมาณนำเข้าในโควตาตามข้อผูกพัน WTO ภาษีในโควตาน้ำตาลอ้อยร้อยละ 0 ส่วนนอกโควตาร้อยละ 94
-
ตามความตกลงอาเซียน-เกาหลี (AKFTA) ปี 2557 ปริมาณนำเข้าในโควตาตามข้อผูกพัน WTO ภาษีในโควตา ร้อยละ 14.44 นอกโควตาร้อยละ 94 ส่วนการนำเข้าทั่วไป ต้องขออนุญาตนำเข้าและเสียภาษีนำเข้า 3.50 ต่อกิโลกรัม
ประเทศไทยถือได้ว่าอยู่ในกลุ่มผู้ผลิต และผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก มีทรัพย์กรเพียงพอต่อการผลิต และภูมิอากาศที่เหมาะสม หากการส่งออกน้ำตาลลดลง ไม่เพียงแต่ผู้ส่งออกเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ กลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ก็จะได้รับผลกระทบจากส่วนนี้เช่นกัน และปัจจุบันประเทศคู่แข่งมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นประเทศไทยจึงไม่สามารถนิ่งนอนใจกับปัญหานี้ได้