‘สรรพากร’ เอาจริงกับกฎหมายใหม่ เร่ง SME ทำบัญชีเดียว!


 

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆมีความต้องการช่วยเอสเอ็มอีให้มีศักยภาพ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเอสเอ็มอีหลายรายแสดงรายได้หรือทรัพย์สินที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง มีการทำบัญชี 3 แบบ แบบที่หนึ่งคือบัญชียื่นเสียภาษีให้กรมสรรพากร แบบที่สองเป็นบัญชีไว้ดูเอง และสามเป็นบัญชีสำหรับกู้แบงค์ ซึ่งรายได้ไม่ตรงกัน เมื่อหน่วยงานภาครัฐต้องการเข้าไปช่วยเหลือ เช่น มีโครงการร่วมทุน การหาตลาด การพัฒนาเทคโนโลยี แต่ปรากฏว่าเอสเอ็มอีหลายรายมีมูลค่าทรัพย์สินหลายสิบล้าน แต่ยื่นเสียภาษีบอกมีเพียง7-8ล้านบาท ทำให้รัฐไม่สามารถเข้าไปร่วมทุนด้วยได้และเข้าไม่ถึงผู้มีปัญหาแท้จริง ข้อมูลที่รัฐบาลจะนำมาวิเคราะห์ก็เห็นภาพได้ไม่ชัดเจน จึงเป็นที่มาของการออกกฎให้เอสเอ็มอีทำบัญชีเดียวโดยรัฐจะไม่ตรวจสอบย้อนหลัง

 

โดยเนื้อหาตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯที่เป็นกฎหมายบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.59 มีสาระสาคัญ ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีเล่มเดียว ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

 

กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่างการดาเนินคดี ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้

 

สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ

 ไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2558 และได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการใช้บัญชีเล่มเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

 

– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับกาไรสุทธิ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559

– ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้

(1) สำหรับกำไรสุทธิที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

(2) สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 300,000 บาท ขึ้นไปจะลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ของกาไรสุทธิ สาหรับกาไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท

 

หากเอสเอ็มอีทุกรายให้ความร่วมมือยื่นบัญชีตรงไปตรงมา การช่วยเหลือส่งเสริมก็จะขับเคลื่อนได้แบบมีศักยภาพ เศรษฐกิจสังคมจะเข้มแข็ง แต่หากเอสเอ็มอีใดไม่ให้ความร่วมมือกรมสรรพากรคงจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย อีกทั้งในอนาคตก็จะทำเรื่องขอกู้เงินได้ยากเพราะรัฐจะออกกฎว่าต้องใช้บัญชีที่ยื่นต่อกรมสรรพากรในการกู้เท่านั้น