SME ถามรัฐให้ตอบโจทย์ หนี้นอกระบบ


SME ถามรัฐให้ตอบโจทย์ หนี้นอกระบบ

หลังภาครัฐ มีนโยบายจัดตั้งโครงการสินเชื่อเพื่อบริโภคกรณีฉุกเฉิน หรือพิโคไฟแนนซ์ (PICO Finance) ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ แต่ทั้งนี้รัฐต้องมีความสามารถในการควบคุมให้ได้ อย่างไรก็ดีตนมองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ชาวSMEอยากให้รัฐตอบโจทย์ คือ

1. เจ้าหนี้นอกระบบเดิมที่ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 10% ต่อเดือน หากต้องมาปล่อยในอัตราดอกเบี้ยที่ 3% ต่อเดือน และยังมีความเสี่ยงคุณภาพหนี้เนื่องจากเป็นหนี้ไม่มีหลักประกัน ทั้งยังต้องถูกกำกับโดยภาครัฐ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะดึงกลุ่มเจ้าหนี้นอกระบบสนใจเข้ามายื่นขอใบอนุญาต หรือหากจะมีก็เพียงบางส่วน

2.การกำกับของภาครัฐ หากไม่มีเครื่องมือ ดูแลตรวจสอบจะยิ่งเป็นการสร้างปัญหา เปิดช่องให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้ามาฟอกตัวได้ และท้ายสุดก็ไม่พ้นว่าเจ้าหนี้กลุ่มนี้ ยังต้องคิดอัตราดอกเบี้ยแพงเหมือนเดิม

อย่างไรก็ดี นโยบายการจัดตั้งพิโค ไฟแนนซ์ น่าจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้ในระดับหนึ่ง นับว่าดี ถือเป็นก้าวแรก ซึ่งคิดว่าน่าจะมีเจ้าหนี้นอกระบบยื่นความสนใจ แต่จะมากหรือน้อยยังตอบไม่ได้ แต่อย่างน้อยประโยชน์ที่ได้รับคือ การดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย สามารถให้บริการลูกค้าในพื้นที่จากเกณฑ์ของทางการที่ระบุว่า ผู้ประกอบการที่ขอใบอนุญาตจัดตั้งต้องอยู่ในพื้นที่ๆ ที่เปิดให้บริการลูกค้า ไม่สามารถบริการข้ามเขตได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องแลกกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยจากที่เคยได้รับในอัตราสูงๆ ก็ต้องปล่อยกู้ในเพดานไม่เกิน 36% ต่อปี

ต้องจับจับตาโจทย์ใหญ่ของภาครัฐที่พยายามหาวิธีเข้ามาแก้หนี้นอกระบบ นโยบาย พิโค ไฟแนนซ์ จะจูงใจผู้ประกอบการ/เจ้าหนี้นอกระบบในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง ส่วนจะมีผู้สมัครมากน้อยเพียงไรต้องรอดูผล ทั้งยังเป็นการเปิดทางให้รายย่อยมีทางเลือกมากขึ้น นอกเหนือจากการใช้บริการนาโนไฟแนนซ์”นั่นเอง