บสย.หนุน’สตาร์ทอัพ’ค้ำประกันสินเชื่อ วงเงิน1หมื่นล้าน


บสย.หนุน’สตาร์ทอัพ’ค้ำประกันสินเชื่อ วงเงิน1หมื่นล้าน

คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรทัดประกันวินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบสย. ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเงิน 1 หมื่นล้านบาท

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูลผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเปยว่า ที่ประชุมคุณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อของบรรทัดประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ให้ผู้ท่เป็นผู้ประกอบการใหม่และผู้ที่มีนวัตกรรมให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท โดยผู้ปรกอบการเอสเอ็มอีที่จะเข้าร่วมต้องมีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และต้องเป็นสินเชื่อใหม่ ไม่สามารถนำไป รีไฟแนนซ์หนี้เดิมได้ รวมถึงต้องไม่เป็นเอ็นพีแอล

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหม่ หรือสตาร์ทอัพ ต้องมีอายุกิจการไม่เกิน 3 ปี และต้องผ่านการอบรม พิจารณาจากการจดทะเบียนการค้า การจัดตั้ง หรือหนังสือราชการ อื่นๆ รับรอง โดยในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับการค้ำประกันสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย และกลุ่มที่มีนวัตกรรม หรืออินโนเวชั่นและเทคโนโลยีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็จะ ได้รับการค้ำประกันไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายเช่นกัน

ส่วนกรณีที่เป็นนิติบุคคลกลุ่มสตาร์ทอัพจะได้รับการค้ำประกัน สินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาท และกลุ่ม อินโนเวชั่น หรือนวัตกรรมที่เป็นนิติบุคคล และที่ได้รับรองจาก รัฐบาล เช่น สวทช. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จะได้รับวงเงินค้ำประกันสูงสุด 20 ล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะได้รับการค้ำประกันสินเชื่อเป็นเวลา 10 ปี โดยสามารถมายื่นคำร้องขอได้ตั้งแต่มติครม.มีผล จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561โดยมีค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน 1-2% ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน สินเชื่อ ซึ่งจะพิจารณาตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมแทน ผู้ประกอบการในปีแรก โดยบสย.จะจ่ายค่าประกันชดเชยสูงสุดไม่เกินค่าธรรมเนียมที่ได้รับบวกกับเงินสมทบที่ได้รับจากรัฐบาลในอัตรา 15% บวกกับเงินสมทบของบสย.ในอัตรา 2% รวมเป็น 17% ของวงเงินอนุมัติค้ำประกัน โดยบสย.จะขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลเป็นวงเงินรวม 1,700 ล้านบาท

ขณะที่การช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว จะทำให้สามารถกระตุ้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีเพิ่มขึ้น 0.05% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี หรือคิดเป็น 0.25% ต่อ 5 ปี และจะช่วยให้ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพและอินโนเวชั่นได้ราว 5,000 ราย เฉลี่ย รายละ 2 ล้านบาท ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 4 หมื่นล้านบาท ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 1 หมื่นล้านบาท