เอ็กซิมแบงก์เล็งเพิ่มกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี


เอ็กซิมแบงก์เล็งเพิ่มกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี

เอ็กซิมแบงก์เล็งเสนอ คลังแก้กฎหมาย เพิ่มบทบาทให้รับ ค้ำประกันบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุน ในไทย

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ เอ็กซิมแบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมเสนอกระทรวงการคลังเพื่อแก้กฎหมาย ให้ธนาคารสามารถรับค้ำประกันการ ชาระเงินให้กับผู้ประกอบการบริษัท ต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศในการทำการค้ากับบริษัทคนไทยว่าจะได้รับการชาระเงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน โดยธนาคารเตรียมเสนอกระทรวงการคลัง ให้แก้กฎหมายดังกล่าว และต้องเสนอเข้าสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้กฎหมายครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้เอ็กซิมแบงก์เป็นส่วนหนึ่ง ของไทยแลนด์ทีม ในการที่จะเดินทางออกไปโรดโชว์ในประเทศต่างๆ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาตลาดส่งออกใหม่ โดยเอ็กซิมแบงก์ จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนเรื่องสินเชื่อและการทำประกันการส่งออก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ส่งออกของไทยว่า จะได้รับการชาระค่าสินค้าจากผู้นำเข้า ในประเทศที่รัฐบาลต้องการให้ไปบุกทำตลาดส่งออกใหม่ๆ ด้วย

นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า ในช่วงที่การส่งออกชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของธนาคาร ที่จะออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อมารองรับ ความต้องการของลูกค้า รวมถึงการ ปรับยุทธศาสตร์การทำงานของธนาคารใหม่ เพื่อขยายบทบาทการทำงานใน การช่วยเหลือผู้ส่งออกไทย เช่น การเน้นทำเรื่องการประกันการส่งออกให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักมากขึ้น เพื่อส่งเสริม ให้ธนาคารพาณิชย์กล้าปล่อยสินเชื่อให้ กับผู้ส่งออกไทยที่ซื้อประกันการส่งออกมากขึ้น ซึ่งธนาคารจะสนับสนุน ผู้ประกอบการส่งออกใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ดี ต่างชาติจะให้ความสนใจ และผู้ประกอบการในกลุ่มที่มีการพัฒนาคุณภาพสินค้า เช่น สินค้าไฮเทคที่ต่างประเทศต้องการ และกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเงินลงทุน ในต่างประเทศ เช่น การทำโรงไฟฟ้า สาธารณูปโภค ในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี

รวมถึงกลุ่มที่เปิดตลาดการค้าใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้ง จะเน้นเรื่องการเพิ่มกลุ่มลูกค้าขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี จากปัจจุบันมีจำนวนรายได้คิดเป็นสัดส่วน 40% ของลูกค้าธนาคาร โดยจะให้เพิ่มเป็น 80-90% ภายใน 2 ปีนี้ ขณะเดียวกัน ธนาคารจะปรับ บทบาทให้สามารถรองรับกับยุทธศาสตร์ประเทศได้มากขึ้น โดยจะมีการศึกษาเรื่องแนวทางการทำงานขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งญี่ปุ่น หรือเจบิก และเจแปนเอ็กซิม นำมาศึกษาควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ของประเทศตามที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่างไว้ เพื่อนำไปสู่การปรับบทบาทของ เอ็กซิมแบงก์ให้ก้าวสู่ยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น