ลาวเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ หลังเจอปัญหาทั้งเงินเฟ้อพุ่งสูง-เงินสดสำรองลดน้อยลง


สปป.ลาว กำลังกลายเป็นประเทศที่เดินตามรอยศรีลังกา หลังประสบปัญหาเรื่องเงินสดสำรองลดน้อยลง และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้

ปัญหาขาดแคลนเชื้อเพลิงส่งผลกระทบต่อประชากรของ สปป.ลาว จำนวน 7.5 ล้านคน ซึ่งเป็นสัญญาณความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูง และค่าเงินที่ตกต่ำ อีกทั้งเรื่องที่น่ากังวลที่สุด คือภาระหนี้ที่ทำให้เงินสดสำรองลดลง เหล่านี้เป็นความท้าทายของรัฐบาล สปป.ลาว เป็นอย่างมาก

Anushka Shah รองประธานและเจ้าหน้าที่สินเชื่ออาวุโส Moody’s Investors Service ซึ่งปรับลดความน่าเชื่อถือของ สปป.ลาว ลง 1 คะแนน เป็นระดับ Caa3 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา โดยอ้างอิงจากธรรมาภิบาลที่อ่อนแอ, ภาระหนี้ที่สูงมาก และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ไม่เพียงพอต่อหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดชำระ

ตามรายงานของ World Bank ณ เดือนธันวาคม สปป.ลาว มีเงินทุนสำรอง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การชำระเงินภายนอกมีจำนวนเท่ากันทุกปีจนถึงปี 2025 ซึ่งเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ในประเทศทั้งหมด โดยในปีนี้หนี้สาธารณะใน สปป.ลาว อยู่ที่ระดับ 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราวครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ค้างชำระกับจีน จากภาระผูกพัน และเงินกู้เพื่อสมทบทุน 30% สร้างทางรถไฟจีน-ลาว มูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น 1 ใน 2 ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์ นำมาสู่การนำเข้าสินค้าที่แพงมากขึ้น และราคาน้ำมันพุ่งสูง จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เหล่านี้ทำให้ สปป.ลาว มีภาระหนี้สูง รายรับอ่อนแอ รวมถึงเงินสดสำรองไม่เพียงพอ

ด้านสื่อท้องถิ่น มีมุมมองว่า การขาดแคลนเชื้อเพลิงจากค่าเงินที่อ่อนลงจนส่งผลกระทบต่อการนำเข้า ทำให้ประชาชนไม่เพียงพอที่จะใช้ในประเทศ จะนำมาสู่ผลกระทบในภาคการเกษตร บริการขนส่ง และส่วนอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเทียบเท่ากับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอย่างมีนัยสำคัญ

ที่มา : businesstimes

เรื่องที่เกี่ยวข้อง