หลังจากกระทรวงแรงงานเคาะนำร่อง 10 จังหวัดขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ (เฉพาะเขตปทุมวัน และเขตวัฒนา) 2.กระบี่ (เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง) 3.ชลบุรี (เฉพาะเขตเมืองพัทยา) 4.เชียงใหม่ (เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่) 5.ประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน) 6.พังงา เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก 7.ภูเก็ต 8.ระยอง (เฉพาะเขตตำบลบ้านเพ) 9.สงขลา (เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่) 10.สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเขตอำเภอเกาะสมุย) ในธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย.2567
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ พบว่า
ผลกระทบเชิงบวก
ด้าน GDP
– เมื่อผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) เพิ่มขึ้น จะช่วยผลักดันให้ GDP โตขึ้นตามไปด้วย
– กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ เช่น กำลังซื้อผู้บริโภครายได้น้อยดีขึ้น, กระตุ้นการผลิตและการลงทุน
-ผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นอาจช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า (ต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลง จะช่วยให้สินค้าในประเทศแข่งขันได้มากขึ้น)
ด้านเงินเฟ้อ
-ค่าแรงที่สูงขึ้นอาจจูงใจให้นายจ้างลงทุนในการพัฒนาทักษะ และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตของแรงงาน
-หากผลิตภาพเพิ่มมากกว่าต้นทุนค่าแรง จะช่วยควบคุมเงินเฟ้อได้ เช่น UK ปี 1999 ผลิตภาพเพิ่ม 11-14% แต่เงินเฟ้อเพิ่มจำกัด
ผลกระทบเชิงลบ
ด้าน GDP
-หากค่าแรงเพิ่มเร็วเกินไป อาจเกิดการว่างงาน และกำลังซื้อลดลง เช่น ฝรั่งเศส ปี 2000 ที่ขึ้นค่าแรงมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงผลิตภาพแรงงาน
-ถ้าผลิตภาพไม่เพิ่มตามค่าแรง ความสามารถแข่งขันอาจลดลง กระทบการส่งออกและ GDP
ด้านเงินเฟ้อ
-นายจ้างอาจปลดพนักงานหากรับมือกับต้นทุนไม่ไหว กระทบกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ
-ต้นทุนค่าแรงอาจถูกผลักไปที่ราคาสินค้า ทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยมีข้อมูลสอดคล้องว่าเอกชน 64.7% จะปรับราคาสินค้า และบริการประมาณ 15% ขึ้นไป
-หากไม่ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ต้นทุนที่สูงขึ้นอาจทำให้ขีดความสามารถแข่งขันลดลง ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว
ที่มา: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย