ปัญหาของเกษตรกรที่ผ่านมา ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย คือ การคนที่แสวงหาผลประโยชน์ โดยการแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชผลชนิดต่างๆ พร้อมกับนำต้นกล้ามาจำหน่าย และ บอกว่าจะกลับมารับซื้อคืน ในราคาที่สูง เกษตรกรหลายคนหลงเชื่อ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียง ที่หันมาปลูกโกโก้ กันทั้งหมู่บ้านตามคำชวนของนายทุนที่นำต้นกล้ามาขาย และบอกว่าจะมารับซื้อคืน
สุดท้ายเมื่อผลผลิตออกก็เงียบหาย ชาวบ้านเองเดิมก็ไม่ได้รู้จักผลโกโก้เหล่านี้ เลยว่าจะนำไปขายที่ไหน และจะแปรรูปอย่างไร ก็เหมือนโดนลอยแพ เงินที่ลงทุนไปกับการปลูกโกโก้เหล่านี้ ก็ไม่ได้คืนมาเลยแม้แต่สักบาทเดียว ที่สำคัญจะเอาผลโกโก้เหล่านี้ ไปขายให้ใคร จนเป็นที่มาของการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่ม และขอความช่วยเหลือ จากคนที่มีความรู้เรื่องการแปรรูปโกโก้ ออกมาให้การช่วยเหลือ จนได้ออกมาเป็นผลผลิต โกโก้แปรรูปในแบบต่างๆ ส่งขายมีตลาดที่แน่นอน เกษตรกรขายผลโกโก้แปรรูปในแบบต่างๆ ได้
นายคธาทร สุขคุ้ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ เล่าว่า ที่มาของการรวมกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้ เกิดขึ้นมาจากเมื่อย้อนไปก่อนหน้านี้ สักประมาณปี 2562-2564 มีกลุ่มทุนมาบอกให้ชาวบ้านปลูกต้นโกโก้ และรับปากว่าจะกลับมาซื้อผลโกโก้ หลังจากที่ผลผลิตออก แต่พอถึงเวลาที่ผลผลิตโกโก้เก็บผลได้ ทางกลุ่มนายทุนที่นำต้นกล้ามาขายไม่กลับมารับซื้อ ทำให้ชาวบ้านเองทำการตลาดไม่เป็น และไม่รู้ว่าจะเอาโกโก้ไปขายที่ไหน และคนในพื้นที่แปรรูปผลโกโก้ไม่เป็น ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ทำได้อย่างเดียวคือ ปลูก
สำหรับพื้นที่การปลูกโกโก้ ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ เกิดขึ้นบนพื้นที่ 65 ไร่ หมู่ที่ 8 อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่การปลูกโกโก้ ครั้งนี้ ไม่ได้มีเฉพาะ หมู่ 8 เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายอำเภอ จังหวัดสระแก้ว รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สระแก้ว ครั้งนี้ ประมาณกว่า 100 ไร่ แต่ในส่วนของ หมู่ 8 ตนเอง และชาวบ้าน รวมตัวกัน และหาทางออกร่วมกัน โดยการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น มา และทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์โกโก้ออกมาจำหน่าย พร้อมกับการหาช่องทางการตลาด
โดยสินค้าของทางกลุ่ม ประกอบไปด้วย เมล็ดโกโก้ตากแห้ง ผลิตภัณฑ์ผงโกโก้ และในส่วนของเปลือกก็นำมาแปรรูป เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ฯลฯ โดยผงโกโก้ ส่งให้ร้านเครื่องดื่ม และร้านกาแฟอีกหลายแห่ง ฯลฯ พอนำมาแปรรูป ทำให้มีช่องทางการระบายผลผลิตโกโก้ออกไปในหลายช่องทาง เกษตรกรที่ปลูกโกโก้ ก็ต้องขาดทุน หรือโค่นต้นโกโก้ทิ้ง เพราะบางคนก็ลงทุนไปหลายหมื่นบาท หลักแสนบาท ในส่วนของช่องทางการขาย ปัจจุบัน มีไปส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสำอาง และผงโกโก้ไปขายตามร้านเครื่องดื่ม และมีขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้ง ช็อปปี้ และ ลาซาด้า รวมถึงการออกบูทในงานแสดงสินค้าต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ
ติดต่อ โทร.09-9294-1097