สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก ธนาคารพร้อมให้การสนับสนุน การเติบโตทางธุรกิจจากธนาคารด้วยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลงทุน ขยายกิจการ เสริมสภาพคล่อง หรือรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม ที่คุณสามารถเลือกใช้บริการได้หลากหลายตรงใจคุณ
วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (Overdraft)
บริการทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการเงินหมุนเวียนในธุรกิจ เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น โดยคุณสามารถเบิกถอนใช้วงเงินจากบัญชีกระแสรายวันได้อย่างสะดวกสบายด้วยเช็คส่วนตัว เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการชำระค่าสินค้า วัตถุดิบ หรือ ค่าบริการอื่นๆ ของธุรกิจคุณ
วงเงินกู้ระยะสั้น (Short Term Loan)
บริการด้านการเงินที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและความสะดวกสบายแก่ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการเงินลงทุนหมุนเวียนและเงินทุนสำหรับการดำเนินงานในธุรกิจ สำหรับการจัดหาวัตถุดิบ สินค้าคงคลัง สินค้าและบริการ ลูกหนี้การค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจ
วงเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan)
บริการทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการแหล่งเงินทุนสำหรับใช้ในการลงทุนในธุรกิจ หรือขยายธุรกิจ สำหรับเค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคารโรงงานหรืออาคารสำนักงาน โกดังสินค้า ค่าเครื่องจักรหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการโอนย้ายวงเงินจากสถาบันการเงินเดิม
วงเงินรับซื้อลดตั๋วเงิน (Clean Bill Discount)
บริการทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการวงเงินสำหรับหมุนเวียนในธุรกิจ ในลักษณะการรับซื้อลดตั๋วเงินประเภทต่างๆ โดยธนาคารจะหักส่วนลดรับล่วงหน้าทันที
วงเงินประเภทภาระผูกพัน (Contingent Liability)
หนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) บริการของธนาคารสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการหนังสือจากธนาคาร เพื่อค้ำประกันต่อหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลทั่วไปสำหรับสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของท่าน
การอาวัล (Aval) บริการของธนาคารสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการให้ธนาคาร
ค้ำประกันการชำระเงินตามตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เป็นต้น
การรับรองตั๋วแลกเงิน (Acceptance) บริการของธนาคารสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย (SMEs) ที่ต้องการให้ธนาคารรับรองการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน
เล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าภายในประเทศ (Domestic Letter of Credit) เป็น Letter of Credit ที่ธนาคารออกให้ตามคำขอของผู้ขอเปิด Letter of Credit ผูกพันต่อผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ที่อยู่ในประเทศ ในการเรียกให้ธนาคารผู้เปิด (Issuing Bank) ชำระเงิน หรือรับรองการชำระเงินตามตั๋วแลกเงินและเอกสารการค้าโดยมีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง ตามเงื่อนไขที่กำหนด
เอกสารประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อ
สำหรับผู้ขอเงินกู้:ประเภทบุคคลธรรมดา
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัว พนักงานองค์การของรัฐ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์รุ่นใหม่ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
สำหรับผู้ขอเงินกู้:ประเภทร้านค้าทั่วไป
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง ของเจ้าของร้านค้า
– สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
– ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ระบุชื่อผู้ขอจดทะเบียน
– บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
– ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)
สำหรับผู้ขอเงินกู้:ประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางของหุ้นส่วนผู้จัดการ
– ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายและผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป
– สำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย และผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป
(กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
– หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามหุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ
– หนังสือข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือ ข้อบังคับ
– บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
สำหรับผู้ขอเงินกู้:ประเภทบริษัทจำกัด
– หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
– รายงานการประชุมคณะกรรมการให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร พร้อมด้วยกำหนดผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเช็ค
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา บัตรที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของบุคคลดังนี้ ผู้ถือหุ้นมากกว่า 20 %, กรรมการบริหาร 2 ท่าน (เป็นกรรมการผู้จัดการ 1 ท่าน ) กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามพร้อมตราประทับของบริษัท)(ยกเว้น บริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ต้องขอสำเนาเอกสารการแสดงตนของผู้ถือหุ้นเกิน 20% และกรรมการบริหาร 2 ท่าน)
– งบการเงินย้อนหลังอย่างงน้อย 3 ปี
– เอกสารแสดงผลการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายในนามบริษัท (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
– ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
– แบบ บอจ. 3 หรือ บอจ.4
– หนังสือบริคณห์สนธิ
– บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
หมายเหตุ เอกสารต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
ที่มา : ธนาคารไทยเครดิต