ทุกวันนี้ที่ทำงานกันหนักในแทบทุกวัน เรามีการเริ่มต้นวางแผนเมื่อถึงเวลาเกษียณอายุแล้วหรือยัง หรือใช้ชีวิตเพื่อความสุขไปวันๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงอนาคตแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องเหล่านี้ว่ากันไม่ได้ เพราะแต่ละคนล้วนมีวิถีทางการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างน้อยหากเรามีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณจะถือเป็นเรื่องดีมาก ที่ไม่ต้องไปเบียดเบียน ขอความช่วยเหลือใครในยามแก่ชรา
ดังนั้น บทความนี้ของ Smart SME เราจะพาไปรู้จักกับวิธีการออมเงิน ว่ามีประโยชน์อย่างไรกับตัวเราเองบ้าง
ทำไมถึงต้องออมเงิน?
แม้เงินที่เราได้รับมาในแต่ละเดือน จะต้องถูกไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าทีพัก, ค่าโทรศัพท์ ,ค่าอาหาร ฯลฯ แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่จะต้องออมเงินไว้ให้ลำบากตัวเองเข้าไปอีก อย่างไรก็ตามการออมเงินนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะหากมองกันในระยะยาวเงินที่ออมเหล่านี้จะสามารถช่วยให้คุณใช้ชีวิตในยามแก่ชราอย่างไม่ต้องเป็นภาระใครเลย
ยกตัวอย่างเช่น หากคนๆ นึงออมเงินในแต่ละเดือนจำนวน 5,000 บาท ตั้งแต่อายุ 25 ปี เมื่อถึงอายุ 60 เขาจะมีเงินเก็บถึง 300,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ยของธนาคาร)
จะออมเงินเท่าไรดี?
การออมเงินถือว่าทำได้ง่ายมาก ถึงแม้จะมีความซับซ้อน แต่ก็สามารถเริ่มต้นทำได้ เริ่มจากออมเงิน 15% จากรายได้ในแต่ละเดือนของคุณ ซึ่งในที่นี้ไม่รวมทรัพย์สินอื่นๆ ที่จะได้หลังเกษียณอายุจากนายจ้าง เช่น เงินบำเหน็จ บำนาญ ประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งหากคุณมีวินัยออมเงินอยู่เป็นประจำ ในทุกๆ เดือน คุณก็บรรลุเป้าหมายมีเงินใช้สำหรับหลังเกษียณอายุแล้ว
อีกทั้ง เรายังสามารถทำให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้นจากเดิมด้วยการนำเงินส่วนหนึ่งลงทุนในกองทุนรวมของสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นทางเลือกการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเป็นธรรมดา ดังนั้น ก็ควรศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน
จะหาแหล่งเงินหลังเกษียณได้ที่ไหน?
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่านอกจากเงินออม เรายังมีรายได้จากแหล่งอื่นๆ อีก ที่สามารถให้เงินในแต่ละเดือน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
กองทุนประกันสังคม หากเรามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นระยะเวลา 15 ปี เมื่อถึงอายุ 55 ปี ก็จะได้เงินบำนาญชราภาพ เดือนละประมาณ 3,000 บาท โดยคิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของ กองทุน นอกจากนี้ หากเราจ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นเงินเกิน 15 ปี จะได้โบนัสอีกปีละ 5%
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับเงินบำนาญ (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณกับอายุราชการ หารกับ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หากเป็นเงินบำเหน็จ (เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณกับอายุราชการ ตามเงื่อนไขทางราชการ
กองทุนสำรองชีพ สำหรับลูกจ้าง และนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน หากเริ่มทำงาน และสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จะเห็นได้ว่า การออมเงินถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างมากเมื่อถึงวันที่เราต้องเกษียณอายุ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราไม่สามารถบังคับใครได้ นอกจากการมองภาพวันข้างหน้าว่าเราอยากมีชีวิตในบั้นปลายแบบไหน