การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้กระจายไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่ต้องมีวินัยกับตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนด้านเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักหน่วง สร้างความไม่แน่นอนให้สถานประกอบการ และการทำธุรกิจที่ดูยากขึ้น
จากที่มีรายได้ประจำในทุก ๆ เดือนมาวันนี้สถานการณ์กลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ หลายคนต้องออกจากการงานเพราะธุรกิจไม่สามารถไปต่อได้, หลายคนต้องยอมรับกับการลาหยุดโดยไม่ได้รับค่าจ้าง, หลายคนยังคงมีงานทำอยู่แต่ไม่รู้วันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้ การวางแผนทางการเงินจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
และนี่คือ 5 วิธีบริหารการเงินเพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
1.อะไรประหยัดได้ก็ควรประหยัด
ในช่วงเวลาแบบนี้การลงทุนในหุ้นอาจจะไม่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่ เพราะตลาดมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ควรเสี่ยงที่จะนำเงินเข้าไปลงทุน เพราะอาจได้รับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า หรือขาดทุนนั่นเอง
ดังนั้น คุณควรโฟกัสไปที่ตัวเงินที่สามารถนำออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ทันที คือการเก็บเงินสดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานที่ทำไม่มีสิทธิในเรื่องของประกันที่จะให้เงินชดเชยกรณีเจ็บป่วย
2.เตรียมความพร้อมหากเจอสถานการณ์เลวร้าย
ผู้คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะผ่านพ้นไปได้ดี เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริง ๆ คุณก็ควรประเมินผลกระทบทางด้านการเงินว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายเท่าไหร่
ดังนั้น คุณอาจจะหาคำตอบในเรื่องนี้ โดยการซื้อประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ ซึ่งตอนนี้มีออกมาให้เลือกมากมายตามความเหมาะสมของแต่ละคน
3.ศึกษาประกันสุขภาพให้ถี่ถ้วน
ด้วยประกันสุขภาพเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่ออกมาจำนวนมากจึงทำให้หลายคนอาจเกิดความสับสนในเรื่องรายละเอียดของประกันแต่ละผู้ให้บริการ เช่น หากคุณอยากได้สิทธิลดหย่อนภาษีก็ควรเลือกดูประกันสุขภาพที่มีสิทธิ์ตรงนี้ นอกจากนี้ก็ควรดูในเรื่องของรายละเอียดการคุ้มครองอีกด้วย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
4.ใช้ประโยชน์สินเชื่อทางการเงิน
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการมามากมายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น การออกสินเชื่อ, การพักชำระหนี้, การเยียวยาลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น คุณควรประเมินว่าที่ค่าใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้างที่พอจะไปยื่นเรื่องเพื่อขอรับความช่วยเหลือ
5.ลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น
คุณต้องมาเช็คตัวเองว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างในชีวิตประจำวันที่สามารถหยุดจ่ายได้ชั่วคราวก่อน เช่น บิลค่าใช้จ่าย, บริการต่าง ๆ ที่คุณเป็นสมาชิกแต่ไม่สามารถเปิดให้บริการ เช่น ฟิตเนสออกกำลังกาย, สายการบิน ก็ควรทำเรื่องขอเงินคืนมาก่อน ตลอดจนค่าจ่ายที่ไม่จำเป็นก็ควรลดลงบ้าง เพื่อเป็นการประหยัดเงินให้สามารถอยู่รอดในวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ที่มา: money.com