บอกละเอียดยิบ! รวมมาตรการเยียวยาของสถาบันการเงินช่วยลูกค้าจากโควิด-19 ระบาดใหม่


การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกให้เป็นจังหวัดเสี่ยงทั้งหมด 28 จังหวัด ซึ่งมีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดจากภาครัฐฯ ทั้งในเรื่องการเปิด-ปิดสถานประกอบการ, การเดินทางเข้า-ออก, การตรวจคัดกรองเชื้อ

เหล่านี้นำมาสู่รายได้ที่ลดลง ตลอดจนสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ เข้ามาพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในสภาวะฟื้นตัวจากการระบาดครั้งแรกที่ต้องเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 64 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังเปิดมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งมาตรการที่ทำได้ทันที และมาตรการอื่น ๆ จากสถาบันการเงินที่กำกับดูแลจากภาครัฐฯ ดังต่อไปนี้

ธนาคารออมสิน

มาตรการเยียวยาลูกค้า สำหรับลูกค้าสินเชื่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด

  • พักชำระเงินต้น
  • พัก/ลดดอกเบี้ย (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่)
  • ระยะเวลาพักชำระ 3-12 เดือน (แล้วแต่กรณีความรุนแรงแต่ละพื้นที่)
  • หมดเขตวันที่ 31 มกราคม 2564

มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขยายเวลาถึง มิ.ย.64 หรือจนกว่าวงเงินจะหมด แบ่งเป็น

  • สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ วงเงินสูงสุด 10,000 บาท
  • สินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินสูงสุด 50,000 บาท ไม่มีหลักประกัน บุคคลค้ำ
  • SMEs มีที่ มีเงิน กู้สูงสุด 70% ของราคาประเมิน สูงสุดไม่เกิน 3 ปี
  • โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SMEs ภาคการท่องเที่ยว วงเงินสูงสุด 500,000 บาท ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • Soft Loan ฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย สถาบันการเงินปล่อยให้กับผู้ประกอบการวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารออมสิน 1115

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

พักชำระหนี้

  • พักหนี้ทั้งระบบ 1 ปี
  • พักหนี้ต้นเงินโควิด-19 เกษตรกร และ SMEs 1ปี/ 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม)
  • พักหนี้ต้นเงินผู้ประกอบการ SME นอก LPH 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม)
  • พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 ระยะเวลา 6 เดือน (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม)
  • พักหนี้ต้นเงินสินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ 1 ปี (28 จังหวัด ที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุด และที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม)

เติมสินเชื่อฟื้นฟู&ปรับโครงสร้างธุรกิจ

  • สินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 (0.1%/เดือน ปลอดต้น 6 เดือน) วงเงินสูงสุด 20,000 บาท
  • สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ (4%) วงเงินสูงสุด 10,000 บาท
  • สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start) (4%) วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
    • สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (0% 3 เดือน, 4% วงเงินสูงสุด 10,000 บาท
    • สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด (0% 3 เดือน, MRR) วงเงินสูงสุด 60,000 บาท
    • สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบ (1%ต่อเดือน) วงเงินสูงสุด 8,000 บาท
    • สินเชื่อ SMEs (Soft Loan ธปท. ระยะที่ 2) (2%) วงเงินสูงสุด 45,000 บาท

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 02-555-0555

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

4 มาตรการลดภาระให้ลูกค้าทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่

  • ลูกค้าที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการจะต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64)
  • ลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค. 64)
  • ลูกค้าที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลูกค้าที่มีสิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอใช้มาตรการต้องมีคุณสมบัติ คือ มีสถานะบัญชีปกติ ไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.พ.-ก.ค.64)
  • ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น 1.ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกินมิถุนายน 2564 หรือ 2.พักชำระหนี้ถึงมิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ไม่เพียงพอในการชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรกได้ที่สาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 31 มี.ค.64

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 02-645-9000

EXIM BANK

มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย” ช่วยเหลือลูกค้าในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง

  • พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
  • พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน และพักชำระดอกเบี้ยสูงสุด 3 เดือน (สำหรับผู้ประกอบการอาหารแปรรูปอาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้เป็นพิเศษ)

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2617-2111 กด 4

SME D Bank

มาตรการ “พักหนี้อุ่นใจ” เติมเงินใหม่ไปต่อ ช่วยเหลือลูกค้าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่

พักชำระหนี้เงินต้น

  • 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธ.ค.2564 (ขึ้นอยู่กับผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย)
    สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (เติมทุนใหม่ให้ผู้ประกอบการ)
  • วงเงินกู้สูงสุด 3,000,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • กู้ได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน

  • บุคคลธรรมดา อัตราดอกเบี้ย 4.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 2,000,000 บาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี
  • นิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย 2.875% ต่อปี นาน 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 5,000,000 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: SME D Bank 1357

 

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

4 โครงการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 ระลอกใหม่

  • บสย. SMEs ดีแน่นอน วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 20,000 ล้านบาท
  • บสย. SMEs บัญชีเดียว วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท -100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 5,000 ล้านบาท
  • บสย. SMEs ที่ได้รับสินเชื่อหนังสือค้ำประกัน (LG) วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 2 แสนบาท – 100 ล้านบาท วงเงินจัดสรร 2,000 ล้านบาท
  • บสย. รายย่อย ทั่วไป วงเงินค้ำประกันต่อราย ตั้งแต่ 1 หมื่นบาท – 5 แสนบาท วงเงินจัดสรร 3,000 ล้านบาท

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 02-890-9999