เสี่ยงมาก-เสี่ยงน้อยอยู่ที่ตัวคุณ! เลือกกองทุนรวมแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง


“การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน” ประโยคนี้ยังใช้เตือนใจได้เสมอ สำหรับผู้ที่อยากลงทุน ให้เงินทำงาน

แต่เราสามารถลดความเสี่ยงนั้นด้วยการศึกษาข้อมมูล สอบถามผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะลงทุน เช่นเดียวกับ “กองทุนรวม” ที่แม้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแล บริหารจัดการให้ แต่คนลงทุนก็ควรมีความรู้ไว้ประกอบการตัดสินใจ อย่าทำโดยไม่รู้เรื่องอะไร

แน่อนว่า “กองทุนรวม” มีความเสี่ยง 8 ระดับ ด้วยกัน

ระดับ 1 กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ: เงินฝาก ตราสารหนี้ ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 3 เดือน
ระดับ 2 กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศผสมต่างประเทศ
ระดับ 3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
ระดับ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้
ระดับ 5 กองทุนรวมผสม: หุ้นและตราสารหนี้
ระดับ 6 กองทุนรวมตราสารทุน: ลงทุนในหุ้น
ระดับ 7 กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม: ลงทุนในหุ้นที่กระจุกอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ระดับ 8 กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก: เช่น น้ำมัน ทองคำ

เมื่อมาถึงตรงนี้ก็ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนก่อน และต้องคิดอยู่เสมอว่าลงทุนน้อยได้มากไม่มี เพราะทุกอย่างเป็นความเสี่ยง หากต้องการผลตอบแทนที่สูงก็ต้องเสี่ยงมาก เหล่านี้คือเรื่องธรรมดาที่อยู่คู่กับการลงทุน

 

 

หากพิจารณาระดับความเสี่ยง กองทุนรวมที่อยู่ในระดับ 1-4 จะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เพราะเงินที่นำไปลงทุนนั้นเป็นหน่วยงาน เช่น ภาครัฐฯ ที่มีความน่าเชื่อถือ มีความมั่นคง และมีความเสี่ยงน้อยมากที่จะผิดนัดชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดไว้ แต่ผลตอบแทนที่ได้นั้นอาจจะไม่สูงมากนัก ประมาณ 2-3% ต่อปี

อีกด้านหนึ่ง หากอยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็เป็นกองทุนรวมที่อยู่ในระดับ 5 ขึ้นไป โดยจะไปลงทุนในหุ้นของธุรกิจที่เจาะจง เฉพาะด้าน แน่นอนจะมีความผันผวนของตลาดตามสถานการณ์ทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น และกระทบกับธุรกิจนั้นโดยตรง ซึ่งผลตอบแทนจะอยู่ ประมาณ 5% ขึ้นไป ตามแต่ละการลงทุนของกองทุนรวมนั้นในตลาด

ที่สำคัญบางช่วงเวลาเงินที่ลงทุนไปนั้นอาจอยู่ในสภาวะติดลบ ซึ่งตรงนี้ผู้ลงทุนต้องประเมินรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าให้ได้ ดังนั้น เงินที่นำมาลงทุนในกองทุนรวมควรเป็น “เงินเย็น” ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทำอะไร และหากเงินลดลงจะไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง