จากกรณีที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามและ อาหารเสริมปลอม มากมายไม่ถูกกฎหมาย จนทำให้ผู้บริโภคเสียชีวิตและกำลังฟ้องร้องอยู่ขณะนี้ รายการ SMEs VOICE ให้มุมมองว่ามีผู้เกี่ยวข้องอยู่ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ผลิต หน่วยงานราชการ ตัวแทนจำหน่าย และกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์หรือคนรับจ้างรีวิว ซึ่งพบว่าไม่ใช่มีเพียงดาราเท่านั้น เพราะยังมีคนจากสถาบันการแพทย์ เช่น หมอพยาบาลและเภสัชกรเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งทางกรมการแพทย์ต้องตื่นตัวและเข้ามาตรวจสอบจริยธรรมของแพทย์ก่อนรีวิวมากขึ้น
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า กรณีที่มีการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดถึงสาระสำคัญในผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และมีความผิดตามข้อ 5(2) ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งส่วนนี้ กสทช.ต้องมาดูว่า อย. และ สคบ. มีการรายงานเข้ามาหรือไม่ เพื่อ กสทช. จะได้แจ้งไปยังสื่อวิทยุและโทรทัศน์ให้รับทราบและระงับการโฆษณา ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวในทำนองที่ว่าผู้บริโภคควรต้องดูแลตนเอง เนื่องจากการจดแจ้ง เพื่อขอเลขทะเบียน อย. ในบางผลิตภัณฑ์ เช่นอาหารเสริมและความงาม เป็นการจดเพื่อยื่นคำขออนุญาตด้านอาหารออนไลน์ (E-Submission) ซึ่ง อย. จะทำหน้าที่ตรวจเช็คและอนุญาตให้ผู้ทำธุรกิจนำไปใช้ประกอบกิจการ พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า สคบ. เป็นกระบวนการสุดท้ายในการใช้สินค้า และจะดำเนินการได้เมื่อผู้เสียหายมาร้องเรียน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ
อาหารเสริมปลอม ทำไมแก้ยาก หรืออย. ไร้ประโยชน์
ซึ่งทางรายการ SMEs VOICE ก็ได้ถามกลับไปว่าจากลำดับขั้นตอนเหล่านี้ เมื่อไหร่จะเริ่มลงมือซักที ต้องรอให้เกิดการสูญเสียอีกเท่าไหร่ และชาวบ้านจะรู้ได้อย่างไร เพราะแบรนด์ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุส่วนผสมทั้งหมดไว้ที่ข้างกล่อง โดยหนึ่งในคอมเมนต์ให้ความคิดเห็นว่า “อย. ไม่มีประโยชน์เลย” พิธีกรจึงถามต่อว่า แล้วถ้า อย. ไม่มีประโยชน์ เราควรจะปฏิรูป อย. อย่างไร หรือควรยุบ อย. ทิ้ง แล้วสร้างกลไกเพื่อมาปกป้องดูแลผู้บริโภคขึ้นมาใหม่ จากนั้น แขกผู้เข้าร่วมรายการ คุณวรวุฒิ สายบัว กรรมการผู้จัดการบริษัท บิวตี้นิสต้า จำกัด ผู้ให้บริการค้าปลีก เครื่องสำอาง ออนไลน์ผ่านทาง beautynista.com เว็บค้าปลีกเครื่องสำอางชั้นนำที่การรันตีความปลอดภัยของเครื่องสำอางที่ขายในเว็บ และเป็นผู้คร่ำหวอดในวงการเครื่องสำอางไทย กล่าวว่า จากข่าวที่มีผู้หลงเชื่อเครื่องสำอางปลอมมากมายนั้น ช่วง 5 ปีนี้มีกระแสค่อนข้างมาก เพราะปัจจุบันคนไทยสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ในงบลงทุนต่ำ และในอินเตอร์เน็ตยังมีการสมอ้างเป็นโรงงานมากมายในอินเตอร์เน็ต เช่นอ้างสรรคุณการผลิตที่ลงทุนต่ำกำไรสูง ฯลฯ ฉะนั้นหากใครต้องการดำเนินธุรกิจนี้ หรือต้องการเป็นตัวแทนจำหน่าย สามารถตรวจสอบได้ดังนี้
- สิ่งแรกควรตรวจสอบโรงงานผลิตให้ละเอียด ต้องเข้าไปเห็นขั้นตอนการผลิตจริงในโรงงาน อย่ามองแต่ภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์ และต้องเช็คว่าโรงงานผลิตนั้นมีเลขจดทะเบียนบริษัทที่ถูกต้องหรือไม่ โดยสามารถเช็คได้ที่ dbd e-service ซึ่งสามารถกรอกชื่อบริษัทที่เราต้องการตรวจสอบได้ว่ามีการจดทะเบียนอย่าถูกต้องหรือไม่
- วัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจผลิตอาหารเสริมและความงามจริงหรือไม่ ต้องตรวจเช็คว่าชื่อกรรมการบริษัทเป็นใครและตรงกันกับที่ระบุในเว็บหรือไม่ มีตัวตนอยู่จริงมั้ย
- เช็คว่ามีการสวมเลขทะเบียน อย. หรือไม่ ข้อสังเกตง่ายๆคือการโทรไปสอบถามโรงงานผลิตว่ามีการผลิตสินค้านี้อยู่จริงหรือไม่ อย่าเชื่อเบอร์โทรจากฉลาก ควรหาข้อมูลเบอร์จากจากเว็บไซท์ของโรงงานผู้รับผลิต
- ผู้สนใจเป็นตัวแทนควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองก่อนขาย เนื่องจากครีมมากมายที่ผสมสารต้องห้ามไม่สามารถตรวจสอบได้ในเวลาสั้นๆ ซึ่งปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ได้คิดค้น test kit เพื่อตรวจหาสารปรอท, ความเป็นกรดและสารไฮโดรควิโนนขึ้น ทำให้มั่นใจก่อนใช้ ก่อนขายและก่อนสั่งผลิต (รายละเอียด Mercury Test Kit)
- มาตรฐานต่างๆที่ได้มาได้จริงมั้ยแล้วหมดอายุหรือยัง เช่น มาตรฐาน GMP ที่มีหลายขั้น
- สำหรับผู้ประกอบการตรวจตรวสอบสินค่าทุกล็อต เพื่อความมั่นใจในสินค้า ผู้ประกอบการควรตรวจสอบกับหน่วยงานมาตรฐาน เช่น Central Lab Thai เนื่องจากจะช่วยให้ตัวเราและผู้บริโภคมั่นใจได้ยิ่งขึ้น กับกระบวนการที่ละเอียด
สุดท้ายอยากฝากผู้ประกอบการด้านนี้ ให้ความสำคัญกับการสร้างความน่าเชื่อถือกับแบรนด์ในระยะยาว เพื่อความอยู่รอดในสมรภูมิธุรกิจเครื่องสำอางที่กำลังจะเข้าสู่วิกฤติฟองสบู่แตก ขอบคุณภาพประกอบ | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น