SME Development Bank หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิด โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกว่า “สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0” เพื่อผลักดันให้การลงทุน ขยาย ปรับปรุง พัฒนากิจการ ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ พร้อมจุดประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยกำหนดเงื่อนไขให้เบิกจ่ายได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินหมุนเวียน หลังจากทำนิติกรรมสัญญาและพิจารณาตามความเหมาะสม โดยโครงการนี้มีวงเงินถึง 8,000 ล้านบาท และมีวงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาท ต่อราย มีระยะเวลาในการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนต้นสูงสุด ไม่เกิน 3 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยเพียง 1% ตลอดอายุสัญญา คุณสมบัติของผู้ประกอบการ ดังนี้ 1.เป็น SME ที่มีศักยภาพขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกิจการประเภท การผลิตสินค้า การให้บริการ การค้าปลีก หรือการค้าส่ง โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคน หรือมีมูลค่าทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินห้าสิบล้านบาท 2.เป็น SME อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1) SME ที่ต้องการลงทุนใหม่ ขยายกิจการ ปรับปรุง ปรับหรือเปลี่ยนธุรกิจ/อาชีพ หรือแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือเริ่มต้นธุรกิจ
2) SME ที่มีปัญหาทางการเงิน แต่กิจการยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือ SME ที่เข้าถึงแหล่งทุนยาก เช่น ขาดเอกสารในการทำบัญชีรับ – จ่าย หรือขาดสภาพคล่อง แต่ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าวต้องไม่ใช่ธุรกิจจัดสรรที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขาย หรือธุรกิจผิดกฎหมาย หรือธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
3. มีบัญชีรับ – จ่าย หรือมีระบบบัญชี หรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีรับ – จ่าย หรือเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว 4. ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการต้องไม่เป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี 5. มีประวัติการชำระหนี้ ดังนี้
1) กรณีลูกหนี้ปกติ (ไม่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา) ให้มีประวัติการชำระหนี้ไม่สม่ำเสมอ งวดใดงวดหนึ่งได้ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ครั้ง ก่อนวันยื่นโครงการ
2) กรณีลูกหนี้ที่เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือ เคยปรับโครงสร้างหนี้ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ต้องชำระหนี้ปกติหลังจากปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 งวดติดต่อกัน ทั้งนี้ หากมีประวัติการชำระหนี้มาแล้วเกิน 4 งวด สามารถไม่ชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ครั้ง ก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ
6. กรณีที่ SME ได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นนิติบุคคล มาแล้วไม่เกิน 12 เดือน
1) ให้พิจารณาประวัติการชำระเงินหนี้ ประวัติการเป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ในนามของบุคคลธรรมดา และ/หรือ กลุ่มบุคคลของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่เคยดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกัน
2) ให้บุคคลธรรมดา และ/หรือ กลุ่มบุคคล สามารถยื่นความประสงค์ขอกู้ได้ ในระหว่างที่ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคล แต่ต้องจดทะเบียนและเสร็จก่อนอนุมัติสินเชื่อ
7. ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วดังนี้
- กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท
- กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ล้านบาท
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
SME Development Bank ได้ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหาทางการเงิน ด้านการชำระหนี้สินไม่ต่อเนื่องหรือการปรับโครงสร้างหนี้ จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้เริ่มต้นและสร้างธุรกิจขึ้นใหม่ สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจสามารถดูรายละเอียดของสินเชื่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smebank.co.th/ หรือ 1337 ทั้งยังสามารถยื่นขอสินเชื่อออนไลน์ได้ที่ https://coreportal.smebank.co.th/