กรณีศึกษา “การรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ขององค์กรขนาดใหญ่”


แชร์ประสบการณ์และกรณีศึกษาขององค์กรขนาดใหญ่กับการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย จากตัวแทนของ SCG และ SCB ที่มาร่วมพูดคุยในงาน Techsauce Virtual Conference 2020

โดยในหัวข้อนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (SCG) และ คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เนื้อหาต่อจากนี้เป็นบางส่วนของการเสวนาครั้งนี้

Survival period – ธุรกิจต้องทำการจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis management)

ในช่วงเอาตัวรอด คนที่บริษัทต้องคำนึงถึงคนแรกคือ “พนักงานและครอบครัวของพนักงาน” จะต้องมั่นใจว่าพวกเขาสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ อีกทั้งให้มีการจัดวางระเบียบการทำงานร่วมกัน ต่อมาคือ “ลูกค้า” การสร้างความมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถดูแลลูกค้าได้เหมือนเดิม และจะทำอย่างไรให้ “ธุรกิจ” ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อจะได้คอยช่วยเหลือ “Dealer” ในขั้นต่อไป สุดท้ายคือ “สังคม” ธุรกิจจะสร้างอิมแพคและนำนวัตกรรมมอบกลับไปให้สังคมได้อย่างไร

Visionary period – การมองหาโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ (Opportunity management)

เมื่อผ่านวิกฤตนี้ไป ธุรกิจจะต้องมองหาโอกาส เนื่องจากเศรษฐกิจจะเข้าสู่ New normal สภาพเศรษฐกิจที่จะเริ่มลงตัวเเต่ไม่สามารถกลับไปอยู่จุดเดิมได้ จึงต้องย้อนกลับมาดู Business model ของตัวเอง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างเเน่นอน ลองทำการค้นหาว่ามีเทคโนโลยีไหนที่สามารถนำเข้ามาปรับใช้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้บ้าง

“องค์กรที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่องค์กรที่ Lean หากแต่เป็นองค์กรที่สามารถปรับตัวให้ยืดหยุ่น (Resilience) ได้อย่างไรต่างหาก” -SCB

การปรับตัวของธุรกิจในช่วง Work from home

“การปรับทัศนคติของพนักงาน” ในการทำความเข้าใจความหมายของ “Work from home” การทำงานที่บ้านว่าไม่ใช่การพักผ่อน แท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร ทุกคนต้องเข้าใจตรงกัน

“ธุรกิจที่มีความเป็น Traditional ต้องมีการปรับเเละลองนำดิจิทัลเข้ามาใช้” เพื่อคอนเนคกับลูกค้า เพราะวิธีเก่าไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป

สำหรับกลุ่มงานเดิมที่ถูกระงับหรือต้องเลื่อนออกไป ให้ทำการ “โยกย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เพื่อรับหน้าที่สำคัญ” เพราะกลุ่มนี้เป็นคนที่มีความสามารถ อีกทั้งดูว่ามีเเผนกไหนที่พวกเขาสามารถเข้าไปช่วยได้บ้าง ซึ่งการทำเช่นนี้ จะสามารถตัดปัญหาการมีอคติในองค์กรได้อีกด้วย

โควิด-19 เปิดโอกาสให้มองเห็นในเรื่อง Inclusion การรับรู้ถึงความสามารถเเละทักษะของคนในองค์กรเเละทีมงานมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้ “พนักงานไม่ใช่กระจุกตัวอยู่แค่ในกรุงเทพฯ เหมือนเเต่ก่อน”

“เราต้องยอมรับความจริงว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว และจะส่งผลกระทบต่อชีวิตเรา ถ้ามันเกิดขึ้นตอนนี้แล้ว มันก็อาจจะเกิดอีกในอนาคต เราต้องเลือกว่าจะยอมให้ธุรกิจเราได้รับผลกระทบไปเรื่อยๆ หรือจะให้มันเป็น Wake up call เพื่อให้เราสามารถตั้งรับได้ดีมากกว่านี้” – SCG

การกระตุ้นพนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งมีพลัง ในช่วง Work from home

1. มีการให้กำลังใจและขอบคุณคนในทีมอย่างสม่ำเสมอ

2. มีการแบ่งทีมและหน้าที่อย่างเหมาะสม เช่น ทีมที่ทำงานตามปกติและทีมที่ทำภารกิจในกรณีเร่งด่วน

3. มีการปรับหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในทีมอื่นที่ต้องการกำลังคน

4. ทุกคนต้องมี Mindset ที่ชัดเจน

ทักษะที่ต้องมีในการรับมือกับโควิด-19

1. การมี Digital literacy รู้จักเสพและแยกแยะเนื้อหาบนโลกดิจิทัล

2. ความสามารถในการสื่อสารบนโลกดิจิทัล

3. การสร้าง Content บนโลกดิจิทัลให้เป็น

4. การมีความเข้าใจเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิทัล (Data privacy)

“ตอนนี้เราไม่ได้วิ่งร้อยเมตรเเต่เรากำลังวิ่งมาราธอน ดังนั้นไม่มีคำว่าเเพ้หรือชนะ เพราะเราไม่ได้เเข่งกับใคร เราเเข่งกับตัวเราเอง เราจะพาตัวเองไปถึงจุดหมายได้หรือไม่ นั่นขึ้นอยู่กับว่าเราจัดการทุกกิโลเมตรได้ดีเเค่ไหน” – SCB

อ้างอิง: Techsauce Virtual Conference 2020