สตาร์ทอัพสุดแนว ใช้ 3D Printing เขย่าวงการกางเกงยีนส์


สตาร์ทอัพรายนี้ได้ทำการรวมเอาเทคโนโลยีการสแกน 3 มิติ และเทคโนโลยี 3D Printing เข้าสู่วงการทอผ้า เพื่อสร้างกางเกงยีนส์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด สำหรับผู้บริโภคทุกคน เพราะนี้คือคำนิยามที่มากกว่าคำว่า “สั่งตัด” รองรับความนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนจากการเลือกแบรนด์ใหญ่กลายมาเป็นแฟชั่นที่จับต้องได้ในความเป็นตัวเอง

Unspun สตาร์ทอัพจากซานฟรานซิสโกได้เข้าร่วมศูนย์บ่มเพาะ “Techstyle” ของฮ่องกง ภายใต้หลักการร้านรับตัดกางเกงยีนส์ที่ไม่มีเศษผ้าเหลือใช้ นั่นคือกางเกงยีนส์จะทำการผลิตเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาเท่านั้น นี่คือการใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน แน่นอนว่ามันจะส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อวงการค้าปลีก

นี่คือเทคโนโลยีที่ยักษใหญ่ด้านเสื้อผ้าหลายบริษัทกำลังให้ความสนใจ และเข้าร่วมทำการสนับสนุน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ความต้องการลดเศษผ้าที่เหลือจากการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด หรือไม่เหลืออยู่เลย นี่คือการพัฒนาเครื่องทอผ้า 3 มิติที่จะกำจัดเศษผ้าได้อย่างสมบูรณ์

“วิธีคิดที่ดีที่สุดมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับเสื้อผ้า” Walden Lam หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งของ Unspun กล่าว “แต่เมื่อผู้คนนึกถึงการพิมพ์เสื้อผ้า 3 มิติ พวกเขามักจะคิดถึงการนำเอาพลาสติกมาทำ นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนต้องการสวมใส่ แต่สิ่งที่เรากำลังทำต่างออกไป เราใช้ของจริงทั้งหมดมันคือเส้นด้ายที่ใช้ทำเสื้อผ้าสำหรับใส่ในชีวิตประจำวัน”

จากข้อมูลของ Statista ขนาดของตลาดยีนส์ทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 60.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2560 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 87.6 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2566

รายงานจาก ResearchAndMarkets.com แสดงให้เห็นว่าความนิยมที่เพิ่มขึ้นของยอดขายออนไลน์ ทำให้ผู้ขายสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์เดนิมที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในเรื่องของขนาดและสี

นิตยสาร Wired ซึ่งอ้างถึงการสำรวจของ Deloitte ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มมากถึง 40% จากราคาขายปลีกปกติสำหรับสินค้าแฟชั่นส่วนบุคคล

Unspun ร่วมมือกับบริษัทสแกนร่างกายชื่อ Fit3D เพื่อติดตั้งเครื่องสแกนอินฟราเรดมากกว่า 1,000 เครื่องทั่วโลกซึ่งลูกค้าสามารถรับการสแกนร่างกายซึ่งใช้เวลาเพียง 20 วินาที จากนั้นก็ทำการส่งข้อมูลเพื่อทำการผลิตเครื่องแต่งกายที่มีขนาดพอดีตัวและเป็นเอกลักษณ์ตามต้องการ

ผู้ก่อตั้งของ Unspun เลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่กางเกงยีนส์ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตที่ก่อมลพิษและใช้แรงงานมากที่สุด คนงานที่ทำการผลิตผ้ายีนส์นั้นมักมีโรคปอดเรื้อรังจากการย้อมที่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษ และสูญเสียน้ำหลายร้อยลิตร ต่อการผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัว

Unspun อยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อปิดรอบการระดมทุน แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการหรือการประเมินมูลค่าของพวกเขา

อ้างอิง: