ซันเดย์ มอร์นิ่ง คว้าแชมป์ AWS Hackdays Thailand 2019


โซลูชันการอ่านฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทรวงอกแบบอัตโนมัติมีจุดเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือภาค HealthTech ด้วยการช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบเพื่อความเข้าใจฟิล์มเอ็กซ์เรย์ได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันเพื่อช่วยให้สามารถวางแผนด้านการประกันสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

จุดเริ่มต้นของโซลูชั่นนี้มาจาก การที่พบว่าปัจจุบัน 1 ใน 8 ของคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินหายใจ โดยในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 55,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายก็คือประเทศไทยมีหน่วยเอ็กซ์เรย์มากกว่า 10,000 แห่ง แต่มีแพทย์รังสีวิทยาเพียง 1,462 คน ซึ่งจากจำนวนนี้หมายถึงแพทย์ด้านรังสี 15 คนต่อจำนวนประชากร 1,000,000 คนในพื้นที่ห่างไกล

ดังนั้นเราจึงคิดถึงโซลูชันนี้ที่เราเชื่อว่าน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในขณะที่ลดเวิร์คโหลดการทำงานของแพทย์รังสีวิทยา พร้อมให้คำแนะนำหรือการเตือนที่ทันท่วงทีด้านสุขภาพเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น เราจะทำการพัฒนาต้นแบบของเราต่อไปด้วยเครื่องมือและบริการ AWS ที่สามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา

Automated Chest X-Ray Interpretation แบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชั่น ได้แก่เวอร์ชั่นที่ให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า (free version) และเวอร์ชั่นที่มีค่าธรรมเนียมและการบริการ (paid version) เนื่องจากธีมการแข่งขันในปีนี้คือการพัฒนาเพื่อคืนสิ่งที่ดีกลับสู่สังคม (Hack for Good) บริการในส่วนที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย (free version) มีเป้าหมายที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบและเข้าใจผลการเอ็กซเรย์ทรวงอกได้โดยอัตโนมัติ และในส่วนของเวอร์ชันที่มีค่าใช้จ่าย ทีมซันเดย์ มอนิ่งได้พัฒนาเพื่อเป็นแพลตฟอร์มประกันสุขภาพเพื่อวิเคราะห์สภาพสุขภาพของลูกค้าโดยใช้รายงานเอ็กซ์เรย์ทรวงอกและการตรวจสุขภาพในการคำนวณเบี้ยประกันตามสภาพสุขภาพจริงของลูกค้า

ทีมซันเดย์ มอร์นิ่ง เป็นผู้ชนะเลิศ ด้วยการนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมการอ่านฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทรวงอกโดยอัตโนมัติ (Automated Chest X-Ray Interpretation) จากการแข่งขันในงาน AWS Hackdays ‘Hack for Good’ 2019 ของประเทศไทย ซึ่ง ซันเดย์ มอร์นิ่งได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเดินทางเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันแฮคกาธอนระดับอาเซียนในรอบชิงชนะเลิศ (Grand Finale) ในงาน AWS Summit Singapore 2019 ณ ประเทศสิงคโปร์ ต่อไป

AWS Hackdays คืองานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ความรู้ และเพื่อการแข่งขันแฮคกาธอน (hackathon) ใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้ ทีมในภูมิภาคที่เข้าร่วมการแข่งขันได้รับการสนับสนุนให้โชว์เคสงานนวัตกรรม พร้อมทั้งแสดงทักษะในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence หรือ AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (machine learning หรือ ML) อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) หรือ Modern Applications Centered ภายใต้หัวข้อด้าน HealthTech, AgriTech, Smart City และ FinTech