ผู้บริโภค

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค สู่การปรับตัวเสริมกลยุทธ์ใหม่โดยใช้ดาต้า

LINE ประเทศไทย จัดงาน THAILAND NOW & NEXT: Thriving through The Economic Instability ชวนผู้เชี่ยวชาญร่วมอัปเดตสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น พร้อมนำเสนออินไซต์การใช้งานดาต้าของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นกลยุทธ์ใหม่ ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดหรือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที

 

โรงงานจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้

 

ชินตา ศรีจินตอังกูร Thailand Site Leader บริษัท นีลเส็นไอคิว (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยตลาด ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลพฤติกรรมของคนยุคใหม่ ภายใต้หัวข้อ UNFOLDING CONSUMER INSIGHTS IN A CHALLENGING THAILAND โดยเปิดเผยงานวิจัยของนีลเส็น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้คนมีรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนจากการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไปสู่การใช้จ่ายแบบพิถีพิถันและตั้งใจมากขึ้น โดยเกิดขึ้นจาก 4 ตัวแปรสำคัญ คือ

 

  1. สถานะของผู้บริโภค มีแนวโน้มที่จะปรับตัวกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้ดี โดยมีการประเมินการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้เงินนั้นเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
  2. ปัจจัยขับเคลื่อนการบริโภค ที่สำคัญคือ สภาวะเงินเฟ้อในไทย ทำให้จำเป็นต้องใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อสิ่งตอบแทนที่เท่าเดิม โดยสินค้าที่ยังคงให้ความสำคัญคือ สินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน อย่างสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) อีกทั้ง ยังมีความภักดีต่อแบรนด์น้อยลง พร้อมที่จะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าที่มองว่าคุ้มค่ากว่า
  3. ความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ในปี 2024 แม้ว่าผู้คนจำนวนมากจะเริ่มมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น แต่กลุ่มใหญ่ในสังคมไทยมากกว่า 50% ยังระมัดระวังและมีความกังวลในการใช้จ่าย คนส่วนมากยังให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายที่เน้นความเรียบง่าย การวางแผน และการหลีกเลี่ยงความสิ้นเปลือง
  4. นิยาม “ความคุ้มค่า” แบบใหม่ ไม่ได้มองแค่เรื่องราคาที่ถูกลง แต่ยังพิจารณาถึงคุณค่าในรูปแบบอื่นๆ ภายใต้ราคาที่เข้าถึงได้ เช่น เป็นสินค้าใหม่ เป็นสินค้าที่สร้างความยั่งยืน เป็นสินค้าที่มาจากธรรมชาติ เป็นต้น

 

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลายธุรกิจได้ตระหนักและปรับกลยุทธ์เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง  นางสาวศรีสุภาคย์ อารีวณิชกุล ผู้อำนวยการธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทย ได้เผยถึงอินไซต์การใช้งานดาต้าบนแพลตฟอร์ม LINE ของธุรกิจต่างๆ ในไทยที่น่าสนใจตลอดช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวเสริมกลยุทธ์ใหม่โดยใช้ดาต้า เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถสรุปอินไซต์การปรับตัวที่เกิดขึ้นของแบรนด์เป็น 4 กลยุทธ์ด้วยกัน

  1. ใช้ช่องทางโฆษณาแบบผสมผสาน โดยใช้ทั้งช่องทางโฆษณาแบบ Reservation เพื่อเข้าถึงระดับ Mass ควบคู่ไปกับช่องทางโฆษณาบน LINE Ads เพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ช่วยให้แบรนด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ดีขึ้น
  2. ใช้กลุ่มเป้าหมายใหม่ในการยิงโฆษณา โดยทดลองเลือกกลุ่มเป้าหมายในเซกเมนต์ใหม่ๆ นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรงที่เคยเลือกใช้ เพื่อขยายฐานผู้มีแนวโน้มสนใจสินค้าของแบรนด์ได้กว้างและครอบคลุมขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจยานยนต์ ที่ลองขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังผู้ที่สนใจเรื่องแต่งงาน ครอบครัว หรือเสียงเพลง เป็นต้น
  3. ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูล 1st Party Data โดยใช้เครื่องมือ MyCustomer ทำหน้าที่เป็นถังเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำมาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย ในการสื่อสารและใช้ทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง อาทิ ธุรกิจกลุ่มการเงินและประกัน ที่มีการอัปเดตข้อมูลบัญชี การทำธุรกรรมต่างๆ ของผู้ใช้แต่ละราย หรือนำเสนอบริการอันหลากหลาย ให้เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคนผ่าน LINE OA อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่แบรนด์ไม่มีข้อมูล 1st Party Data เป็นของตนเอง ก็สามารถใช้ Mission Stickers มาเป็นกลยุทธ์เสริมได้ อาทิ กลุ่มธุรกิจ FMCG และของใช้ส่วนตัว ที่ใช้ Mission Stickers ร่วมกับฟีเจอร์ ‘แบบสอบถาม’ ของ MyCustomer ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคได้โดยตรง เป็นต้น
  4. สร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล ด้วยการเอาดาต้ามาจำแนก แบ่งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างประสบการณ์ นำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่ม ตรงใจ ตรงการใช้งานจริงของแต่ละคน เช่น ธุรกิจยานยนต์ ที่มีการยิงโฆษณาด้วยเนื้อหาที่แตกต่างกันไปยังกลุ่มลูกค้าตามระดับความสนใจซื้อ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจการเงิน ที่มีการแสดงผล Rich Menu บน LINE OA แตกต่างกันไปตามระดับสมาชิกของลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง