เปิด ทักษะสำคัญของผู้ประกอบการ SME ที่จำเป็นต้องมีในปี 2025
ปี 2025 ถือเป็นความท้าทายอย่างมากของผู้ประกอบการ SME เนื่องจากเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจ ดังนั้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารธุรกิจและการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยทักษะสำคัญของผู้ประกอบการ SME ที่ควรมีในปี 2025 มีดังนี้
1. ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technological Proficiency)
เช่น AI และระบบอัตโนมัติ จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องสามารถประเมินและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ระบบจัดการสต็อกสินค้าอัตโนมัติ และการใช้ Chatbot ในการให้บริการลูกค้า
- Pomelo Fashion ใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าออนไลน์ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การช้อปปิ้งและเพิ่มยอดขาย
- GQ Apparel ใช้เทคโนโลยี Smart Fabric ที่พัฒนามาจากการวิจัยเพื่อผลิตเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทย
2. ทักษะด้านการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
การพัฒนาธุรกิจในปี 2025 จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
- Flash Express ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างแพลตฟอร์มการขนส่งที่รองรับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
- SCG ใช้นวัตกรรมในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า
3. ทักษะด้านการบริหาร Soft Skill
ในยุคเทคโนโลยี Soft Skill ยังคงมีความสำคัญ ผู้ประกอบการต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง โดยทักษะที่สำคัญ ได้แก่
- ความยืดหยุ่น (Adaptability) เนื่องจากโลกยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการต้องพร้อมปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน
- การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารที่ดีช่วยลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจระหว่างทีมงานและลูกค้า เช่น การทักษะการเจรจาต่อรอง ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์กับคู่ค้า ลูกค้า หรือผู้ลงทุนได้ การเจรจาที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับคู่ค้าอีกด้วย
4. ทักษะด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ESG (Environmental, Social, and Governance)
ในยุคที่ความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคมกลายเป็นประเด็นสำคัญ ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ESG เพื่อสร้างธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การปฏิบัติตามหลัก ESG ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและผู้ลงทุน
- คาเฟ่อเมซอน ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนโครงการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย
- ดอยตุง สร้างธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยการผสมผสานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ห่างไกล
- PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นที่ใส่ใจในหลัก ESG โดยเน้นการสร้างงานฝีมือที่ช่วยสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย และใช้วัสดุรีไซเคิลที่ยั่งยืนในการผลิต
5. การเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning)
ในปี 2025 ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain, IoT และแนวทางการทำงานที่ดีที่สุดในธุรกิจของตนเอง
- SCB พัฒนาบริการ Digital Banking เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการยุคดิจิทัล พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้ให้พนักงานเกี่ยวกับฟินเทคและการใช้ข้อมูล
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดโปรแกรมอบรมผู้ประกอบการ SME ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ
6. การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ (Data-Driven Decision Making)
การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางกลยุทธ์การตลาด การกำหนดราคาสินค้า หรือการขยายตลาด
- LINE MAN Wongnai ใช้ข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อปรับปรุงระบบจัดส่งและแนะนำร้านอาหารที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
- Lazada ประเทศไทย ใช้ Big Data ในการวางแผนแคมเปญการตลาดและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้งาน
ในปี 2025 ผู้ประกอบการต้องพัฒนาทักษะทั้งด้านเทคโนโลยีและ Soft Skill เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ซึ่งการปรับตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้สามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
คลิกอ่าน: ธุรกิจไทยจำนวนมากนำ AI ใช้สรรหาบุคลากร แถมลงทุนเพิ่มทักษะพนักงานเรื่องคิดวิเคราะห์