ธุรกิจขายตรง ชื่อนี้เราได้ยินกันมานาน แม้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ทั้งในรูปแบบอาชีพหลัก และอาชีพเสริม แต่ก็มักจะควบคู่กับแชร์ลูกโซ่ที่กลายเป็นของคู่กัน เนื่องจากข้อเสนอ โมเดลธุรกิจที่มีความคล้ายคลึงกันจนบางครั้งก็แยกไม่ออก สุดท้ายตอนจบกลายเป็นการฉ้อโกงไปในที่สุด
สำหรับ “ธุรกิจขายตรง” เป็นการขายสินค้า หรือบริการไปยังลูกค้าโดยตรง ผ่านตัวแทนขายที่ซื้อสินค้าจากบริษัทไปจขายให้กับลูกค้าโดยตรง หรือสมัครสมาชิกเครือข่ายที่จะได้รับส่วนแบ่งค่าคอมมิชชัน
ด้านวิธีการขายจะใช้สาธิต แนะนำ ตลอดจนการจัดประชุมทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของธุรกิจขายตรง อ้างอิงจาก “สมาคมธุรกิจขายตรงไทย” มีอยู่ 8 ข้อด้วยกัน
1.ผู้ประกอบธุรกิจต้องจดทะเบียนก่อนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
2.ค่าธรรมเนียมในการสมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงต้องมี ความเหมาะสม เงินค่าสมัครจ่ายเพื่อคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และ สินค้าตัวอย่างเท่านั้น
3.มีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงโดยมีแผนธุรกิจกิจที่ เป็นไปได้จริง และคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยะยาว
4.การจ่ายผลตอบแทน รายได้ และตำแหน่ง ให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทน ขายตรง ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ ไม่ใช่การระดมทุนหรือใช้เงินซื้อตำแหน่ง โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นแผนธุรกิจในการจ่ายผลตอบแทนเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาและอนุมัติ
5.เน้นการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ ยอดขายมาจากการจำหน่ายสินค้าไปสู่ ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ได้มาจากการกักตุนสินค้าของผู้จำหน่ายอิสระหรือ ตัวแทนขายตรง และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
6.มีการรับประกันความพอใจของสินค้า โดยลูกค้าสามารถคืนสินค้ากับบริษัท ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
7.มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผู้จำหน่ายอิสระหรือ ตัวแทนขายตรง และผู้บริโภค
8.ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องไม่กล่าวอ้างหรือ โฆษณาสรรพคุณของสินค้าเกินจริง
Smartsme จะพามาดูผลประกอบการการบริษัทที่ทำธุรกิจขายตรงระดับ Top ในไทยว่าแต่ละแบรนด์มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้าง