MEDEZE

รู้จัก MEDEZE ธุรกิจจัดเก็บสเต็มเซลล์ นัมเบอร์วันในไทยด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง

เทคโนโลยีทางการแพทย์ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการวิจัย คิดค้นเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้สิ่งที่ที่สุดออกมาในช่วงการทดลอง เพราะจุดเริ่มต้นทุกอย่างจะดีได้ต้องมาจากเซลล์ก่อนเสมอ ดังนั้น การผู้ให้บริการจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่มีมาตรฐาน ไว้ใจได้ ตลอดจนมีบริการอื่น ๆ แบบครบวงจร จึงเป็นคำตอบของคนทำธุรกิจ

 

MEDEZE แบรนด์ประกอบธุรกิจครอบคลุมเรื่องเซลล์ ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ คัดแยก เพาะเลี้ยง รับฝากเซลล์ต้นกำเนิด และตรวจศักยภาพเซลล์ภูมิคุ้มกัน ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประสบการณ์มามากกว่า 14 ปี เรียกได้ว่าเป็นผู้นำในด้านนี้เลยก็ว่าได้

 

 

 

จุดเด่นของธุรกิจคงหนีไม่พ้นบริการที่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็น คนไทยหรือคนต่างประเทศสามารถจัดเก็บ หรือฝากเซลล์ได้ที่ MEDEZE ผ่านมาตรฐานสากล Association for the Advancement of Blood and Biotherapies (AABB) ด้วยมาตรฐานการจัดเก็บแช่แข็งในระดับสากลจาก สหรัฐอเมริกา ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องไปฝากในต่างประเทศ

 

โดยขั้นตอนการรับฝากเซลล์ จะเริ่มจากกระบวนการเก็บตัวอย่างเลือด หรือเนื้อเยื่อการคัดแยก และเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิด แช่แข็งในถังไนโตรเจนจนเหลว ซึ่งจะรับประกันคุณภาพตลอดระยะเวลาการฝากเก็บนานถึง 30 ปี พร้อมกับรับประกันการส่งมอบว่าเซลล์จะมีอัตรารอดชีวิตไม่ต่ำกว่า 50-90%

 

ผลประกอบการบริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

-ปี 2565 รายได้รวม 532 ล้านบาท กำไร 114 ล้านบาท

-ปี 2566 รายได้รวม 666 ล้านบาท กำไร 291 ล้านบาท

 

สำหรับสัดส่วนของรายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจเก็บสเต็มเซลล์ เนื้อเยื่อ สายสะดือ คิดเป็น 53% ตามมาด้วยธุรกิจเก็บสเต็มเซลล์เนื้อเยื่อไขมัน คิดเป็น 19%, ธุรกิจการตรวจ NK Cells คิดเป็น 16%, ธุรกิจสเต็มเซลล์เลือดสายสะดือ คิดเป็น 9% และอื่น ๆ คิดเป็น 4%

 

 

 

ล่าสุด เมดีซ กรุ๊ป เดินหน้านำธุรกิจเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 268 ล้านหุ้น คิดเป็น 25.09% โดยขายหุ้นละ 9 บาท โดยในปีบริษัทมีแผนที่จะทำธุรกิจเซลล์รากผม หลังมองเห็นปัญหาเรื่องนี้ของคนอายุ 30-70 ปี ซึ่งมีประมาณ 30 ล้านคน และสัดส่วนที่มีปัญหาเรื่องผมอยู่ที่ 1 ต่อ 4 คน

 

นอกจากนี้ บริษัทมีแผนติดตั้งระบบการจัดเก็บเซลล์ด้วยหุ่นยนต์ ที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะเลี้ยงเซลล์ นำเทคโนโลยีมาเพิ่มกำลังการผลิต และจัดเก็บ ตลอดจนเป็นลดต้นทุน

 

ทั้งนี้ กลุ่มครอบครัวเขมะรังสรรค์ ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คิดเป็น 57.76% หลัง IPO เป็นที่เรียบร้อย

ที่มา: medezestemcell

 

เรื่องที่อื่นที่น่าสนใจ