หญ้าแฝก ของดีมีประโยชน์ตามธรรมชาติ


หากมองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการนำ หญ้าแฝก หญ้าที่คนทั่วไปมองข้าม และดูเหมือนมีประโยชน์เพียงเล็กน้อย จนหลายคนเห็นเป็นโทษ ต้องอาศัยศาสตร์มากมายหลากหลายด้านที่จะก่อให้เกิดหลักการเรียนรู้ สร้าง และพัฒนา กว่าจะถูกนำมาปรับใช้เป็นพืชบุกเบิกในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสภาพดินและสภาพแวดล้อมได้ ต้องอาศัยการศึกษาและการสังเกต ดังพระบรมราโชวาทบางตอนที่ว่า

“ทุกคนควรจะได้สนใจสังเกต ศึกษาเรื่องราว บุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมและเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มากอย่าละเลยหรือมองข้ามแม้แต่สิ่งเล็กน้อยเช่น ต้นหญ้า ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดีก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้ หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ และหญ้าที่มีคุณอย่าง หญ้าแฝก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะมีรากที่หยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง ๆ ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคงและมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา ทำให้ดักตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540

นอกเหนือจากการศึกษาเรียนรู้ว่า หญ้าแฝกสามารถนำมาปลูกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังพระราชทานแนวพระราชดำริให้พัฒนารูปแบบและวิธีการการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ยังโปรดให้ส่งเสริมการศึกษาเรื่องหญ้าแฝกทั้งทางด้านการนำหญ้าแฝกมาใช้เป้นวัสดุแทนไม้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นเจอร์และตกแต่งภายใน การปลูกแฝกเพื่อดูดซับสารพิษและอื่นๆ อีกมากมายเกี่ยวกับประโยชน์จากหญ้าแฝก รวมถึงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแฝกในทุกๆ ด้านรวมถึงการส่งเสริมการปลูกและส่งเสริมอุตสหกรรมและตลาดรองรับการนำหญ้าแฝกมาใช้ให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป

ปัจจุบันเราได้เห็นและเรียนรู้แล้วว่าหญ้าแฝกเป็นหญ้าที่สามารถนำมาปลูกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขี้น และยังนำมาใช้ประโยขน์ทั้งเป็นพืชอาหารสัตว์ งานหัตถกรรม และการนำมาทำน้ำหอม

 

ที่มา : http://www.most.go.th/main/th/knowledge/sti-genius-of-king/7359-2018-06-19-04-50-07