“ธุรกิจอาหาร” กินตามเทรนด์ ปรับใหม่จุดขาย “เมนูสุขภาพ”


++ในเกือบรอบปี ธุรกิจอาหารยังคงติดอันดับต้นๆ ที่คนอยากลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะการลงทุนในรูปแบบของ “แฟรนไชส์” ถ้าดูในรายละเอียดของอุตสาหกรรมด้านร้านอาหารในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า การเติบโตโดยรวมนั้นมีไม่น้อยกว่า 60% ทั้งด้านจำนวนธุรกิจอาหาร และธุรกิจประเภทร้านอาหารจานด่วนประเภท “QSR หรือ Quick Service Restaurant” มีการเติบโตไม่น้อยกว่า 28 % ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 ปี

 ++ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่ามูลค่าตลาดของธุรกิจบริการอาหารทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารในปี 2556 มีมูลค่าตลาด 488,370 ล้านบาท และมูลค่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารที่เป็นเครือข่ายธุรกิจอาหาร 180,630 ล้านบาท มีผู้ประกอบการร้านอาหารที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในประเทศไทยรวม 61,760 ราย เป็นกลุ่มภัตตาคาร ร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ยังเปิดดำเนินกิจการรวม 6,933 ราย และมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด 1,169 ราย

++ในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร ข้อมูลโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในปี 2555 มีธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ 239 ราย หรือคิดเป็น 57% ของจำนวนธุรกิจใหม่ที่เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ทั้งหมด คาดการณ์ว่า ในปี 2556 ภาพรวมของตลาดธุรกิจอาหารจะมีมูลค่าประมาณ 669,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

++ธุรกิจปรับจุดขาย “เมนูสุขภาพ”

                ++ถึงแม้ว่าแนวโน้มของร้านอาหารเพื่อสุขภาพจะได้รับความนิยมสูงขึ้น แต่ร้านอาหารเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเน้นให้บริการอาหารเจ อาหารมังสวิรัติ อาหารชีวจิต และอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก ทำให้ไม่อาจตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยในเวลาเดียวกัน เพราะตลาดอาหารสุขภาพยังเป็นเรื่องใหม่ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ และโดยมากพฤติกรรมการบริโภคคนไทยยังเน้นความอร่อยของรสชาติ ประเด็นสุขภาพยังเป็นรอง
                ++อาหารญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็น “อาหารสุขภาพ” เป็นที่ยอมรับสำหรับคนไทยอย่างมากจวบจนปัจจุบันอาหารญี่ปุ่นยังคงเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับคนไทย การปรับธุรกิจเข้าสู่เทรนด์อาหารปลอดภัย อาหารสุขภาพกับความอร่อยมันสามารถรวยไปด้วยกันได้ และสามารถทำได้หลายกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น PRET A MANGER ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดส์แนวสุขภาพในอเมริกา ร้านแห่งนี้เป็นฟาสต์ฟู้ดส์ที่มีจุดขาย วัตถุดิบจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซนต์

++ สิ่งที่ทำให้ร้านอาหารแห่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ตลอดเกือบ 30 ปี PRET A MANGER มีส่วนผสมมีกลวิธีการบริหารธุรกิจที่แสนจะลงตัว สร้างสรรค์ความอร่อยชั้นเลิศตั้งแต่เมนู การบริการ ไปจนถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในระหว่างทำงาน ร้านอาหารที่มีสาขาตัวแทนแห่งคุณภาพกระจายไปทั่วโลกนี้ ยังมีการจัดการอาหารที่เหลือในแต่ละวันด้วยการบริจาคให้กับคนไร้บ้านด้วย ผู้ประกอบการที่มีใจรักการขายอาหารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

                        ++“โจ๊กแต๋จิ๋ว อาหารสุขภาพจานด่วนแบบไทยๆ สำหรับผู้บริโภคที่เน้นกระแสรักสุขภาพ คุณพรณี คงเอี่ยมพิธี คือผู้บุกเบิกและปรับเปลี่ยนตำนานโจ๊กอันแสนยุ่งยากมาเป็น “โจ๊กแต้จิ๋ว” ที่อุ่นอร่อยพร้อมเปิดให้บริการตามแหล่งชุมชนเกือบ 200 สาขาภายในเวลา 3 ปี  เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ระบบทางเดินอาหารจึงไม่ต้องทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นมื้อเช้าร่างกายต้องการอาหารที่ให้พลังงาน และคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือมื้อค่ำที่เราต้องการอาหารที่ให้ทั้งอิ่ม อุ่น และอร่อย ช่วยให้หลับสบาย โจ๊กแต้จิ๋วจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทำตลาดในเวลานี้

                ++ “ลูกชิ้นปลาอรุณี” ลูกชิ้นปลานั้นเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และมีรสชาติที่อร่อย แต่ต้องได้มาตรฐานและสด สะอาดถึงจะเป็นที่ยอมรับ ลูกชิ้นปลาอรุณีนั้นได้มาตรฐานจาก อย.และมาตรฐาน GMP มาตรฐาน Thai Food Cluster ไม่มีบอแรกซ์ สด สะอาดปลอดภัย มั่นใจได้ว่าไม่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม

เดิมทีลูกชิ้นปลาอรุณีนั้นได้ทำการผลิตลูกชิ้นหมูอยู่ก่อนหน้าแล้ว แต่ได้เพิ่มการผลิตโดยหันมาลองผลิตลูกชิ้นปลาและได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคดีเกินคาด

++เมื่อลูกค้าให้ความไว้วางใจจึงได้ขยายสาขาธุรกิจให้มีทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานลูกชิ้นปลาที่สด สะอาด ได้มาตรฐานเพราะทุกวันนี้ลูกชิ้นปลาดี หารับประทานได้ยากมาก ปัจจุบันแฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาอรุณี ได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการ มีมากกว่า 100 สาขา ทั่วประเทศโดยส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และเริ่มขยายสาขาออกไปต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่องจุดเด่นของลูกชิ้นปลาอรุณี ได้แก่ การใช้เงินลงทุนที่น้อย ให้ผลตอบแทนที่ดีมาก คืนทุนเร็ว ได้สินค้าคุณภาพดีเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า

++ “เมนูสุขภาพ” คือจุดขายได้ในระยะยาว เนื่องจากยังเป็นกระแสหลักในความสนใจผู้บริโภค

ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด บรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจร้านอาหารต่างเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรม ความต้องการของผู้บริโภค นอกจากเรียกร้องในเรื่องของรสชาติ ผู้ประกอบการต้องเฟ้นหาสินค้าที่สอดรับเรื่องสุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารด้วย