จังหวัดกระบี่ก้าวเข้าสู่การเป็นต้นแบบกรมอุทยานแห่งชาติ 4.0


กรมอุทยานแห่งชาติ มุ่งเป้าหลักไปที่การพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับการให้บริการทางด้านท่องเที่ยว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศให้สูงขึ้น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ทั้งพัฒนาการท่องเที่ยว และการดูแลแหล่งธรรมชาติจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

โดยในระยะ 2-3 เดือนถัดจากนี้จะเป็นช่วงการติดตั้งอุปกรณ์และทดสอบการใช้งานระบบ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน เราจะสามารถเห็นผลการพัฒนา Smart City ของกระบี่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงต้นปี 2562

แนวทางพัฒนากรมอุทยานแห่งชาติ 4.0

-ระบบในการควบคุมปริมาณเข้า-ออกของนักท่องเที่ยวที่เข้าในอุทยานให้เหมาะสมกับพื้นที่อุทยานฯ ที่สามารถรองรับการให้บริการได้

-ระบบความปลอดภัย ที่จะนำทั้ง CCTV และ mobile application มาดูแลว่าใครเข้ามาเล่นน้ำในเวลาที่ไม่อนุญาต หรือมีเรือเข้ามาในพื้นที่ที่กันไว้สำหรับนักท่องเที่ยวว่ายน้ำ

-ระบบ sensor สิ่งแวดล้อมเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานฯ ได้แบบ real time อีกทั้งยังเป็นการแจ้งเตือนเมื่อมีภัยพิบัติ เช่น มีระดับน้ำสูงอย่างรวดเร็ว

-ระบบการ Tracking เรือที่ช่วยให้ทราบได้ว่ามีเรือลำไหนเข้ามาในบริเวณที่ไม่อนุญาต หรือมีเรือที่เข้ามาในพื้นที่แล้วเกิดอุบัติเหตุ

-command center ที่เชื่อมโยงจากส่วนกลาง มีสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติทั้งหมดเพื่อคอยเฝ้าระวังพื้นที่ป่า ความปลอดภัยและรวบรวมสถิติทั้งรายได้และสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต

ทั้งหมดนี้เป็นความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิทัล และอีกหลายบริษัทที่ได้มาช่วยกันนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดสอบสำหรับภารกิจของกรมอุทยาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้กับอีก 150 อุทยานทั่วประเทศ