รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน รวมถึงมีอาการข้อแข็งและบวม ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเก๊าท์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออื่นๆ ได้
โรคเก๊าท์เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริกเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริกตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวด แดง ร้อนบริเวณข้อต่อ ถ้ากรดยูริกสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง ถ้ากรดยูริกสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใตและเกิดอาการไตเสื่อม
สูตรสมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ 5 สูตร
สูตร 1
น้ำมะกรูด ผสมน้ำผึ้งนิดหน่อย แล้วเอาน้ำอุ่นเติมใส่ไม่ต้องมาก หรือน้ำเย็น ผสมแล้วนำมาดื่ม ใช้เวลาประมาณเดือนครึ่ง ดื่มทุกวันช่วยบรรเทาอาการ
สูตร 2
ใบรางจืด 5 ใบ + ใบเตย 5 ใบ ต้มน้ำ 2 ลิตร ดื่มทุกวัน จะช่วยลดการเป็นเก๊าท์ – รูมาตอยด์ สูตรนี้ลดหินปูนได้ดีที่สุด
สูตร 3
ใบยอ 4 ใบ + มะตูมแห้ง 1 แว่นย่างไฟให้เหลือง นำมาต้มกับน้ำ 3 ขวด เคี่ยวให้เหลือ 2 ขวด ดื่มกินต่างน้ำทุกวันจนกว่าจะหาย
สูตร 4
ใบมะรุมสดๆ 3 ยอด ต้มน้ำ 2 ลิตร ดื่มทุกวัน ลดอาการเก๊าท์ได้
สูตร 5
มะละกอดิบ 1 ลูก เอาเมล็ดออก ไม่ต้องปลอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นทอนๆ ต้มน้ำ 3 ลิตร ดื่มทุกวันอาการปวดลดลงจนหาย
เมนูอาหารแนะนำที่ช่วยลดอาการเก๊าท์
1. ใบย่านางสดวันละ 10-20 ใบ ตามน้ำหนักตัวคั้นน้ำดื่ม ดื่มบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกวัน
2. ใบรางจืด + ใบเตย ต้มน้ำดื่มประจำ
3. ใบมะรุมสด ลวกจิ้มน้ำพริก
4. ลูกเดือยต้มกับข้าวเจ้า แบบข้าวต้ม ทานบ่อยๆ
อาหารที่คนเป็นโรคเก๊าท์ควรงด
เนื่องจากโรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การกินอยู่ ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งได้แก่อาหารต่อไปนี้
1. เนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด
2. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
3. ไข่ปลา
4. ปลาดุก, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน
5. กุ้ง
6. ผักชะอม, ผักกระถิน, ผักสะเดา
7. กะปิ
8. น้ำต้มกระดูก
9. ซุปก้อน
10. เห็ด
การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
1 การป้องกันการเกิดภาวะอักเสบของเก๊าท์ในระยะยาว สามารถใช้ยาที่ช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย เช่น ยาที่ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase inhibitors) หรืออาจใช้ยาที่ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย (uricosuric)
2 กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะยาที่ช่วยลดกรดยูริก
3 ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารทะเล
4 โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของข้อ อันเนื่องมาจากการตกผลึกของกรดยูริกภายในข้อ โดยหลาย ๆ ปัจจัยสามารถส่งผลเพิ่มระดับกรดยูริกในกระแสเลือดได้ เช่น การกินอาหารทะเลหรือการดื่มแอลกอฮอล์ โดยการรักษาและป้องกันโรคเก๊าท์ที่มีประสิทธิภาพ ควรเน้นย้ำในเรื่องของการใช้ยาอย่างเคร่งครัดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง
ข้อมูล: honestdocs