รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธานี แจ้งเตือนสถานการณ์โรคหัด พบผู้ป่วยกว่า 177 ราย ใน 5 จว.ภาคอีสาน และมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้
นายแพทย์ดนัย เจียรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี (สคร.10) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรคหัดในพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 27 พ.ย. 61 พบผู้ป่วย ทั้งสิ้น 177 ราย กระจายอยู่ทุกจังหวัด และมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้
นายแพทย์ดนัย กล่าวอีกว่า โรคหัดเป็นโรคไข้ออกผื่นที่มักพบได้ในทุกช่วงวัย โดยเชื้อไวรัสหัดสามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ง่ายผ่านเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และละอองอากาศ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการไอ จาม และพูดคุยในระยะใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคหัดจะมีเชื้อไวรัสหัด อาศัยอยู่ ในลำคอ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ 1-2 วัน ก่อนเริ่มจะมีผื่นขึ้น อาการที่พบบ่อยของโรคหัด คือ “ไข้ออกผื่น” โดยมักมีอาการไข้ประมาณ 3-4 วัน แล้วเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้น โดยผื่นเริ่มขึ้นจากหลังหูแล้วลามไปยังใบหน้าบริเวณชิดขอบผมแล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ คือ คออักเสบ หลอดลมอักเสบจนถึงปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ท้องเสีย และสมองอักเสบซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด หากมีอาการที่กล่าวมาหรือสงสัยว่าเป็นโรคหัดควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและรับการรักษา
นายแพทย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน และวัคซีนป้องกันโรคหัดมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าร้อยละ 95 ซึ่งตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข จะฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมันจำนวน 2 เข็ม เข็มแรกเมื่อเด็ก อายุ 9 เดือน และเข็มที่สองเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง หากพบว่าบุตรหลานยังรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ผู้ปกครองสามารถพาไปรับวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคหัดจะมีอัตราการป่วยตายต่ำในเด็กทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ยังคงมีความเสี่ยงในเด็กเล็ก และเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารหรือเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422