อย่ากังวล…เปิดขั้นตอนเอาชีวิตรอดพนักงานเมื่อถูกเลิกจ้าง – ตกงาน


เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างที่ทำงานบริษัท หรือในองค์กรต่างๆ อาจจะมีความเชื่อว่างานที่ทำอยู่มีความมั่นคงในระดับหนึ่ง ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ความเชื่อมั่นเหล่านี้อาจจะไม่สามารถเป็นหลักประกันว่า คุณ จะไม่ตกงาน หรือว่างงานแบบไม่ทันได้ตั้งตัว

ซึ่งบางกรณีหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นจริง บางคนอาจจะรู้สึกสิ้นหวัง หมดกำลังใจ วันนี้  Smart SME ขอให้คุณตั้งสติเข้าไว้ หากยังมีงานทำก็ขอให้ตั้งใจทำงานและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด แต่หากตกงาน ว่างงาน หรือถูกเลิกจ้างขึ้นมาจริงๆ ให้คุณรีบจัดการตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อให้มีโอกาสในการหางานใหม่หรือถ้ายังหาไม่ได้ ก็ใช้ตัวช่วยที่จะทำให้คุณเอาชีวิตรอดจากภาวะว่างงาน ดังนี้

1. รีบไปยื่นรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน ที่ประกันสังคม 

สิทธิผู้ประกันตน กรณีถูกเลิกจ้าง

จะได้ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

 โดยเตรียมหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม กรณีว่างงานให้พร้อม ประกอบด้วย

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09)

    ****กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้

  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน 

2.สมัครงานออนไลน์

เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย คุณอาจจะไม่ต้อง Walk-in ไปยื่นใบสมัครงาน โดยอาจจะใช้วิธีสมัครงานออนไลน์ในเว็บไซต์หางาน ซึ่งคุณควรเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม เอกสารที่ใช้บ่อยอาจจะเซ็นสำเนาถูกต้องแล้วสแกนเก็บเป็นไฟล์ที่สามารถส่งอีเมลไปพร้อมๆ กับประวัติส่วนตัว, รีซูเม่, CV ที่สำคัญควรกรอกข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วนเพื่อประสิทธิภาพในประวัติการสมัครงานของคุณเอง เพิ่มโอกาสการได้งานใหม่เพิมขึ้น 

3.หาอาชีพเสริมที่ลงทุนไม่มาก 

ข้อนี้แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละคน อาจจะเป็นการทำตามความถนัดเช่น รับจ้างเขียนบทความ ออกแบบกราฟิก รับจ้างสอนพิเศษตามบ้าน หรือจัดกรุ๊ปสอน หรือจะหาสินค้ามาขาย ที่มีทั้งแบบเป็นตัวแทน ไม่ต้องลงทุนจริง ขายอาหารหรืองานแฮนด์เมดผ่านออนไลน์ เหล่านี้เป็นต้น อาจจะเหนื่อยหน่อยที่ต้องหมั่นโพสต์รูป โพสต์ข้อความขายสินค้า หมั่นตอบคำถามลูกค้า แต่เชื่อเถอะว่าหากออเดอร์เข้ามาถล่มทลาย ความเหนื่อยจะหายไปแบบปลิดทิ้ง และหากติดใจ คุณอาจจะทำเป็นอาชีพหลักที่ก็มีหลายคนประสบความสำเร็จ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยก็ได้ ขอเพียงแค่จับทางตลาดให้ถูกเท่านั้น

4. ลงทุนทำแฟรนไชส์

หากคุณพอมีเงินเก็บ หรือเงินที่สะสมไว้สำหรับลงทุน คุณอาจจะสะบัดใส่งานประจำแล้วหันมาทำอาชีพ นักธุรกิจ ที่ป็นนายตัวเอง เนื่องจากแฟรนไชส์ จะง่ายสำหรับผู้ที่พอมีเงินลงทุนแต่อาจจะไม่รู้จะเริิ่ีมต้นยังไง ด้วยรูปแบบของโมเดลธุรกิจที่สำเร็จรูป เพียงคุณตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ก็จะมีให้พร้อมทุกอย่าง หรืออาจจะมีคอร์สสั้นๆ สำหรับให้คุณพร้อมขายได้แบบมืออาชีพแบบที่ไม่ต้องเสียเวลาไปหาประสบการณ์นานๆ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้คุณได้ตัดสินใจ

5. สร้างธุรกิจของคุณเอง

ไม่ว่าจะเป็นตอนเรียน หรือทำงาน เราเชื่อว่าคุณ มีความฝันเกี่ยวกับอาชีพที่อยากทำในอนาคต การตกงานอาจจะเป็นช่วงเวลาทองที่เปิดโอกาสให้คุณทำฝันให้เป็นจริง ถ้าคุณพร้อมมากพอ อย่ากังวลใจไป ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ แต่ถ้าคุณหาข้อมูลแน่นพอ ศึกษาธุรกิจที่อยากทำให้ถ่องแท้ ลองคิดถึงปัจจัยบวก ปัจจัยลบ ถ้ามันต้องเสี่ยง ก็ลองสู้ดูซักตั้ง ถ้าผิดหวังก็เริ่มต้นใหม่

และถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าจะทำธุรกิจอะไรดี ลองมาเปิดหูเปิดตาเลือกชมงานรวมธุรกิจแฟรนไชส์  SmartSMEExpo2020 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา
10.00-20.00 น. ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ไม่แน่ คุณอาจจะเป็นเศรษฐีคนใหม่แบบไม่ทันรู้ตัว…

 

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม