10 ธุรกิจเสี่ยงเลย์ออฟพนักงาน จากการถูกเทคโนโลยีดิสรัป


ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เผยถึงเงินเฟ้อไตรมาสแรกปีหน้า ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น จากการปรับเพิ่มค่าโดยสารรถสาธารณะ ราคาพลังงานและการเลือกตั้ง แต่เศรษฐกิจไทยยังไม่มีแรงกดดันหรือปัญหาทางด้านเสถียรภาพ จึงมองว่าเร็วเกินไปที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) รอบนี้ (19 ธ.ค. 61)

ส่วนธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตต่ำ มีความเสี่ยงสูง และมีแนวโน้มเลิกจ้างพนักงาน จากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้บริโภค และทางเทคโนโลยี ได้แก่

1. อุตสาหกรรมทีวี ทีวีดิจิทัล เคเบิลทีวี สื่อสิ่งพิมพ์และสำนักพิมพ์ต่างๆ

2. การผลิตและจำหน่ายหรือการให้เช่า CD DVD

3. อุตสาหกรรมยาง การผลิตภัณฑ์ยาง และปาล์มน้ำมัน

4. สถานศึกษาเอกชน

5. ร้านค้าแบบดั้งเดิม

6. ธุรกิจให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต

7. ธุรกิจหัตถกรรม และเฟอร์นิเจอร์ไม้

8. อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องหนัง

9. เครือข่ายสาขาสถาบันการเงิน

10. เครือข่ายห้างสรรพสินค้า

ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มอัตราชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างได้ระดับหนึ่ง เช่น ลูกจ้างที่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป จะสามารถรับเงินชดเชยได้ 400 วัน ส่วนกรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น หากลูกจ้างไม่อยากย้ายตาม ก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้าง พร้อมรับสิทธิชดเชยตามอัตราใหม่ได้