ผลวิจัยชี้เราไม่ได้สร้าง Gen Z ให้กลายเป็นหุ่นยนต์


ชาว Gen Z (Gen Zers) คือกลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ยังกังวลว่าตัวเองจะขาดทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน (soft skills) และยังต้องการการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเพิ่มมากขึ้น ถึงกระนั้น มืออาชีพระดับอาวุโสมีความหวาดเกรงที่จะโดนเด็กที่โตมาในยุคดิจิทัลแย่งเก้าอี้ในการทำงาน

กลุ่มคนที่เกิดและโตมาในยุคดิจิทัล (Digital natives) กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของคนทำงาน โดย 97 เปอร์เซ็นต์ ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ต้องการที่จะทำงานด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยที่สุด โดยมากกว่า 4 ใน 10 ให้ความสนใจในการทำงานด้านไอที ที่รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์

แม้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ยังมีความกังวลด้านความพร้อมในการทำงาน โดย 95 เปอร์เซ็นต์ ของชาว Gen Z ในประเทศไทย ต้องการทำงานในลักษณะการเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี แต่ 96 เปอร์เซ็นต์ ยังมีความกังวลว่าอาจขาดประสบการณ์และทักษะด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสำรวจทั้งหมด 722 ราย ต่างบอกว่าความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีของตัวเองนั้นอยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยม และแม้ว่าเกือบทั้งหมด (99 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ และมีเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าการศึกษาที่ได้รับมีส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเป็นอย่างดี

ภายในที่ทำงานจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มาจาก 5 เจเนอเรชั่น ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรธุรกิจจะต้องช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจพื้นฐานที่ตรงกันเพื่อความเท่าเทียม

การศึกษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก เดลล์ เทคโนโลยีส์ และจัดทำขึ้นโดยองค์กรวิจัยอิสระ ในช่วงเดือนสิงหาคม จนถึงกันยายน 2018 โดย Dimensional Research ได้ทำการสำรวจผ่านออนไลน์ ไปยังนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับการศึกษาที่สูงกว่านั้นใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยได้มีการแปลชุดคำถามในการสำรวจออกเป็น 12 ภาษา ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษาที่อายุระหว่าง 16-23 ปี จำนวน 12,000 รายเข้ารับการสำรวจ ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวเป็นหนึ่งในการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดที่รวบรวมข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับทัศนคติปัจจุบันและความคิดเห็นที่มีต่อเทคโนโลยีและสถานที่ทำงานในกลุ่มนักเรียนยุค Generation Z ที่กำลังจะเริ่มทำงานภายในอีกไม่กี่ไปข้างหน้า