ตลาดเสื้อผ้าเด็กมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท ยังสดใส


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์ว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ตลาดเสื้อผ้าเด็กมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันอัตราการเกิด ของเด็กไทยจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง  แต่เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้มูลค่าตลาดเสื้อผ้าเด็กยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็คือ ไลฟ์สไตล์ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

 

จากพฤติกรรมของพ่อแม่เสื้อผ้าเป็นสินค้ากลุ่มแรกๆ ที่จะนึกถึง ตั้งแต่ ช่วงเริ่มตั้งท้องไปจนถึงเติบใหญ่ (ตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงวัย) นอกจากนี้ จากการที่สินค้าเสื้อผ้าเด็กมีวางจำหน่ายอย่าง หลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปแบบดีไซน์ ระดับราคาและคุณภาพ ทำให้กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเหล่านี้สนุกไปกับการเลือกสรรและแต่งตัวให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง ดังนั้นธุรกิจเสื้อผ้าเด็กเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย สำหรับผู้ ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าไปลงทุน หากจับกระแสความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้

 

เดิมเสื้อผ้าเด็กในตลาดเมืองไทยมีให้เลือกสรรค่อนข้างน้อย กล่าวคือ ในตลาดระดับบน จะเป็นเสื้อผ้าเด็กที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ราคาสูง เน้นคุณภาพเป็นหลัก และมักจะเป็นเซกเมนต์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น เจาะตลาดเด็กแรกเกิด-เด็กเล็ก (อายุ 0-6 ปี) หรือเจาะกลุ่ม ตลาดเด็กโต (อายุ 6-12 ปี) และอีกตลาดจะเป็นตลาดเสื้อผ้าเด็กตลาดล่าง เน้นราคาถูกไม่มีแบรนด์ มักเป็นการตัดเย็บแบบผ้าโหล ไม่เน้น คุณภาพและดีไซน์มากนัก เจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่าง

 

เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปตามสังคมและวัฒนธรรมการบริโภค ผู้คนหันมาสนใจภาพลักษณ์และการแต่งกายมากขึ้น ทำให้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการผลิต/ขายเสื้อผ้าเด็กในเซกเมนต์ที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ยังขยายแตกไลน์สินค้าครอบคลุม ตลอดช่วงอายุเด็ก ทำให้ตลาดเสื้อผ้าเด็กในปัจจุบันมีลูกเล่นและความน่าสนใจในการทำตลาดมากขึ้น โดยสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันหรือ สวมใส่ในโอกาสต่างๆ ได้หลากหลาย ภายใต้ระดับราคาที่เข้าถึงได้ง่ายและเหมาะสมกับคุณภาพ

 

สถานการณ์การแข่งขันนั้นส่วนใหญ่จะเน้นที่คุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสื้อผ้าเด็กระดับบน กับแบรนด์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงยาวนาน สินค้าเน้น คุณภาพและความปลอดภัยเป็นหลัก ระดับราคาที่วางจำหน่ายสูง เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง โดยมีช่องทางจำหน่ายที่สำคัญ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า

 

ต่อมาเป็นการแข่งขันด้านราคา ส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันในกลุ่มเสื้อผ้าเด็กระดับล่าง ที่ไม่เน้นคุณภาพมากนัก เน้นการขายเชิงปริมาณ มีความ หลากหลายและความแปลกใหม่ของรูปแบบที่นำเสนอน้อย ซึ่งมีช่องทางจำหน่ายที่สำคัญ ได้แก่ ร้านค้ารายย่อย ตลาดนัด ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ตลาดค้าส่ง/ค้าปลีกใหญ่ หรือนำเข้าจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ อาทิ จีน

 

นอกจากนี้การ แข่งขันด้านการออกแบบ/ ฟังก์ชั่น/ ดีไซน์ ของสินค้า ส่วนใหญ่เป็นการแข่งขันในกลุ่มตลาดระดับกลางถึงบน โดยผู้ประกอบการ หน้าใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของพ่อแม่ยุคใหม่ อาทิ เสื้อผ้าเด็กแฟนซีแหวกแนว เสื้อผ้าเด็กที่ ออกแบบเพื่อปกป้องเด็กตามพัฒนาการ (กันกระแทก/ เสริมฟังก์ชั่นง่ายต่อการลุก นั่ง ยืน เดิน กิน) เสื้อผ้าแฟชั่น (แบบเรียบง่าย ใส่เที่ยวเล่น ชุดออกงาน ชุดไปงานเทศกาลต่างๆ) ซึ่งระดับราคาจะแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของสินค้า โดยมีทั้งระดับปานกลางไปถึงสูง ช่องทางจำหน่ายที่ สำคัญ ได้แก่ หน้าร้านของผู้ประกอบการ ช่องทางค้าออนไลน์ และการออกงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นต้น

 

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความประสงค์จะทำธุรกิจเสื้อผ้าเด็ก ประเด็นที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ การวางแผนรูป แบบของการทำธุรกิจ (จำหน่ายเพียงอย่างเดียวหรือทั้งผลิตและจำหน่าย ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ทั้งในเรื่อง เงินทุน สินค้าที่จะนำเสนอ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงกลยุทธ์ทางการตลาด) ทำเลที่ตั้งและช่องทางการจำหน่าย ตลอดจนการสร้างมิติในเรื่อง ของความหลากหลายของเสื้อผ้าที่ครอบคลุมตลอดช่วงอายุของเด็ก ให้เป็นจุดเด่นเพื่อจูงใจให้ลูกค้าเป้าหมายเข้ามาจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าอย่างสม่ำ เสมอ

 

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเสื้อผ้าเด็กสามารถประสบความสำเร็จในระยะยาว ได้แก่ การให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยมา เป็นอันดับแรก มีการกำหนดราคาที่เหมาะสม เน้นพัฒนาสินค้าให้มีเอกลักษณ์และสไตล์ที่ชัดเจน รวมไปถึงทำเลที่ตั้งร้านควรอยู่ในโลเกชั่นที่ เหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์ที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย และประการสุดท้ายก็คือ ผู้ประกอบการต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าและนำมา ต่อยอดพัฒนาไอเดียในการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง