รับมือยังไง เมื่อธุรกิจเสี่ยงเจ๊ง


ในการทำธุรกิจ อาจมีบางครั้งที่ SMEs ต้องรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่างๆ หรือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวด้านต่างๆ เช่น ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

นอกจากนี้ ปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเงินและการลงทุนก็มีความสำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันของตลาดการเงินทั่วโลกหรือ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย ทำให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินและสภาพคล่องในธุรกิจได้

ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะตลาดสินค้า บริการและตลาดการเงิน ก็อาจจะเกิดผลกระทบอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงิน อัตราดอกเบี้ย และ ราคาของสินค้าหรือวัตถุดิบ ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ

มาดูว่าความเสี่ยงและสถานะ (Risk VS Exposure) มีความเกี่ยวข้องกับ การบริหารความเสี่ยงอย่างไร?

สถานะ(Exposure) ที่เกี่ยวข้องกับตลาดการเงินมักจะกระทบต่อกิจการส่วนใหญ่ทั้งทางตรงหรือในทางอ้อม เมื่อกิจการมีสถานะในตลาดการเงิน ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียหรือขาดทุน แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนหรือกำไรด้วย

ความเสี่ยง (Risk) คือ เรื่องของความน่าจะเป็นที่จะสูญเสียหรือขาดทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการเมือง หรือภัยธรรมชาติ หรือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย

แหล่งที่มาของความเสี่ยงทางการเงิน

  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากสถานะของกิจการ
  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำของกิจการอื่น
  • ความเสี่ยงทางการเงินที่เป็นผลจากการกระทำภายในองค์กร

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานและผลของผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงแต่ละอย่าง และต้องคำนวณผลที่คาดว่าเกิด ข้อดีข้อเสี่ยงของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ เทียบเคียงผลที่คำนวณได้ กับเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยินยอมให้เบี่ยงเบนได้