รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
ย้อนกลับไปเมื่อ 2561 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศให้ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ซึ่งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นวันครบกำหนดที่กฎหมายไขมันทรานส์มีผลบังคับใช้
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ที่มีไขมันทรานส์มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
“การห้ามนำเขาไขมันทรานส์มาใช้ในการผลิตอาหารเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยที่เป็นอันตรายต่อร่างกายให้กับผู้บริโภค จึงขอให้ผู้บริโภคตระหนักในเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย”
นอกจากนี้ หากพบผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522
ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา ซึ่งได้รับคำชื่นชมจาก WTO ที่รับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพื่อให้การสื่อสารไปถึงผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ