ถอดรหัสสังคมญี่ปุ่น เพราะอะไร ‘เรื่องไม่ดี’ มักจบลงที่ ‘ใบลาออก’
สังคมญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเภทตัวอย่างที่สะท้อนความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมได้เป็นอย่างดี กับภาพเหตุการณ์ของผู้นำประเทศ รัฐมนตรี ตลอดจนนักธุรกิจมีชื่อเสียง ตัดสินใจออกอย่างรวดเร็ว หากมีเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นที่จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ และภาพรวม เรื่องนี้ถูกฝั่งรากลึก และเป็นค่านิยมของคนญี่ปุ่นที่มีมาอย่างยาวนาน เรียกว่าตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพื่อสร้างบรรทัดฐาน ปลูกฝังความรับผิดชอบ มีศีลธรรมกับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งบางทีเรื่องที่เกิดขึ้นคนนอกอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กับคนญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่ จะเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ ก็ต้องแสดงความรับผิดชอบ ไม่มีข้อแม้ “วัฒนธรรมความละอาย” เป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะความผิดพลาด ความล้มเหลว ทำให้คนอื่นเดือดร้อน การลาออกก็เปรียบเสมือนทางออก ลบล้างเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่ากรณีนั้นจะเกี่ยวข้องโดยตรง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องไม่ดีก็ตาม อีกทั้ง ยังเป็น “การรักษาหน้า” หรือ “เมนซี” เป็นสิ่งสำคัญของญี่ปุ่น โดยการลาออกเป็นการช่วยรักษาหน้าของคนผู้นั้น ตลอดจนองค์กร บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวพัน แต่หากยังอยู่ในตำแหน่งภาพลักษณ์จะเสียหายมากขึ้น ดังนั้น การเสียสละจึงเป็นการแสดงออกถึงความบริสุทธิ์ใจ ลดแรงกระแทกจากสังคมได้ในระดับหนึ่ง จะเห็นว่าวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ฝังเข้าไปอยู่ในจิตสำนึกของคนญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารระดับสูง แม้จะเป็นความผิดของบุคคลเดียว การลาออกจึงเป็นวิธีแสดงว่าผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในลำดับชั้นนั้นๆ พร้อมรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของสาธารณชน นอกจากนี้ ยังมีความกดดันจากสังคม […]