อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น “สีหน้าที่ดูเจ็บปวด” ไม่ได้บ่งบอกความเจ็บปวดเสมอไป


คนเราไม่ได้แสดงสีหน้าออกไปตามอารมณ์ที่แท้จริงเท่านั้น บางครั้งเราก็แสร้งแสดงความรู้สึกบางอย่างเพื่อหลอกคนตรงหน้าเหมือนกัน….

ยกตัวอย่างกรณีที่หลายท่านอาจจะเคยทำ เช่น เวลาที่เราไม่ได้เหนื่อยจากงานอะไรมากมาย แต่กลับทำ “สีหน้าเหนื่อย”เพื่อให้คนอื่นสงสาร

สิ่งนี้คือ “การแสร้งทำสีหน้าหรือท่าทาง” ของคนเราครับ

ในงานตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France) การแข่งขันจักรยานทางไกลของฝรั่งเศส เมื่อปี 2001 แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Armstrong) ซึ่งเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวเก็งอันดับหนึ่ง ได้แสดงสีหน้าเหนื่อยล้าตลอดการแข่งขันครึ่งแรก แม้ในช่วงเพิ่มความเร็วที่ถนัด เขาก็ยังไม่เร่งความเร็วขึ้น

เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเห็นดังนั้นจึงคิดว่า “สภาพร่างกายของเขาคงไม่เต็มร้อย ดีละ ครั้งนี้ต้องเป็นโอกาสของเราเสียที!” เรียกว่าถูกหลอกกันหมด ผู้เข้าแข่งขันอื่นๆ ต่างตายใจ ไม่ค่อยออกแรงกันเต็มที่ ในที่สุดอาร์มสตรองก็เป็นผู้คว้าตำแหน่งแชมป์ไปครอง

 

 

สมัยเป็นนักเรียน ทุกท่านเคยเจอเพื่อนร่วมชั้นที่พูดว่า “เมื่อวานหลับไปตั้งแต่สองทุ่ม ไม่ได้อ่านหนังสือสอบเลย” ไหมครับ
ต้องมีสักคนครับที่เป็นเด็กเรียนดี ตั้งใจอ่านหนังสือสอบเต็มที่ แต่กลับหลอกเราว่าไม่ได้อ่านหนังสือเลย นั่นก็เป็นวิธีหนึ่งในการหลอกคนรอบตัว

หรือในที่ทำงาน คนที่พูดว่า “ฉันไม่ได้พายามเลย” แต่เวลาอยู่บ้านกลับตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือเพื่อสอบเอาใบคุณวุฒิต่างๆ หรือคนที่พูดว่า “ไม่ได้เตรียมตัวทำพรีเซ็นเทชั่นเลย” เพื่อทำให้ดูว่าตัวเองไม่มีความพร้อม แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับเตรียมตัวมาอย่างดี

โรซานนา กัวดาโย (Rosana Guadagno) จากมหาวิทยาลัยแอละแบมา (Unoversity of Alabama) สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า ผู้ชายมักใช้วิธีแสร้งทำแบบนี้มากว่าผู้หญิง เพราะผู้ชายต้องการมีข้อแก้ตัวไว้ในกรณีที่ทำผิดพลาดจึงไม่ต้องการให้คนรู้ถึงความพยายามของตน เมื่อคนอื่นคิดว่าเรา “ไม่พร้อม” หากทำผลงานได้ไม่ดี เราก็มีข้อแก้ตัว แต่ถ้าเราทำออกมาดี คนก็จะยิงชื่นชม
ในทางจิตวิทยาเราเรียกยุทธวิธีนี้ว่า “Self-handicapping” ซึ่งเป็นการแสดง “ข้อเสียเปรียบของตัวเอง” ให้ผู้อื่นเห็นนั่นเอง

เมื่ออีกฝ่ายใช้วิธี Self-handicapping เราต้องไม่หลงเชื่อ และห้ามคิดว่า “ถ้าเขาไม่ได้ทำเต็มที่ เราเองก็ไม่ต้องพยายามมากก็ได้ หากคิดแบบนั้น จะยิ่งถูกอีกฝ่ายทิ้งระยะห่างไปไกลแล้วจะดูออกได้อย่างไรว่าอีกฝ่ายวิธี Self-handicapping อยู่หรือไม่ คำตอบคือให้ดูที่ “ผลงาน” ครับ หากเขาพูดว่า “ไม่ได้อ่านหนังสือเลย” แต่ได้คะแนนสอบดี แสดงว่าโกหก หรือคนที่บอกว่า “ผมไม่ค่อยทุ่มเทกับงานนี้เท่าไหร่” แต่กลับทำผลงานได้ดี นั่นแปลว่าลับหลังแล้ว เขาพยายามเต็มที่
ไม่ว่าคนเราจะโกหกอย่างไร “แต่ผลงาน” ย่อมเป็นไปตามจริงเสทอ หากผลงานออกมาดี ให้พึงคิดไว้ว่าเขาได้พยายามเพื่อให้ผลออกมาเช่นนั้น

Source : หนังสืออ่านใจคนได้ในเสี้ยววินาที โดย โยชิฮิโตะ ไนโต